บทสัมภาษณ์ผู้พัฒนา Products Trust Vision

วันนี้เราได้มีโอกาสสัมภาษณ์ผู้พัฒนา Products Trust Vision ซึ่งเป็นเทรนใหม่สำหรับสายงาน HR ที่จะเป็นเครื่องมือในการพัฒนาบุคลากรด้านพฤติกรรม และสร้างสมรรถนะบุคลากรไปสู่ประสิทธิภาพสูงสุด
สถาพร สุยสุทธิ์ ( บอย )
Products Manager
ที่มาของชื่อ Products Trust Vision
เกิดจากการเข้าคลาสเรียน The Value Proposition design มีการแบ่งกลุ่มแบ่งทีมกัน ในกลุ่มพี่เนี่ยก็จะมี พี่ น้องมน และน้อง Sales อีก 2 คน ตอนนั้นก็ยังไม่มีชื่อโปรดักส์ พี่โอ๊คก็ให้คิดชื่อโปรดักส์ด้วย ก็มีน้อง Sales คนหนึ่งเสนอชื่อขึ้นมาว่าใช้ flash Vision ไหมพี่ มุมมองแบบที่มัน มี flash แล้วมันจะเห็นทุกอย่าง ก็เลยใช้ flash Vision ในคลาสเรียนนั้น พอจบคลาสเสร็จปุ๊บแล้ว พี่ต้องมาคุยงานกับพี่โอ๊คต่อเรื่องการทำโปรเจค กลายเป็นว่าพี่นึกชื่อคำว่า flash Vision ไม่ออกแต่พี่รู้สึกคลับคล้ายคลับคลาว่ามีคำว่า Vision แล้วก็เคยได้เรียน Seven habit แล้วมันมีคำว่า Trust แล้วพี่รู้สึกว่าคำว่า Trust มันดูยิ่งใหญ่ พี่เลยคิดสดออกมาว่า ชื่อ Trust Vision ครับพี่ แล้วโอ๊คได้ยินชื่อนี้กับบอกว่าเป็นชื่อที่ดีมาก เพราะว่ามันแปลว่ามุมมองที่ไว้วางใจมุมมองที่เชื่อใจและนี้คือที่มาของชื่อโปรดักส์ครับ จากการคิดสดในวันนั้น ฮ่าฮา!
จุดเริ่มต้นมาจาก พี่รู้สึกอิ่มตัวในสายงาน HR เพราะอยู่ในวงการนี้มานานมากแล้ว และได้มีโอกาสพูดคุยกับผู้บริหาร ท่านมีแนวคิดว่า “เฮ้ย! บอย ลองทำโปรเจคที่เกี่ยวกับสายงาน HR ที่ไม่เหมือนใครดูไหม? และไม่เคยมีในประเทศไทย มีโปรเจคหนึ่งลองไปคิดดูว่าอยากทำอะไร? ” ตอนนั้นพี่ก็เอาเก็บไปคิดนะ แล้วมีคำหนึ่งที่มันติดอยู่ในใจพี่คือตอนสัมภาษณ์งานกับแก ตอนจะเริ่มงานที่นี่ พี่เคยบอกแกว่าพี่อยากเปิดบริษัท Consultant เป็นเป้าหมายแรกที่ตั้งใจที่อยากจะทำตอนมาสมัครงานที่นี่แล้วพี่ก็ให้คำตอบกับแกว่าพี่อยากเป็น Consultant ด้าน HR ผู้บริหารพี่ขอเรียกว่าพี่โอ๊คแล้วกันนะครับ พี่โอ๊คเลยถามว่าอยากเป็น Consultant ด้านไหนของ HR พี่เลยตอบว่าด้าน HRM ครับเพราะเป็นด้านที่ผมถนัด แล้วพี่ก็โดนยิงคำถามกลับมาว่าแล้วพื้นที่ในตลาดจะเหลือพื้นที่ให้เอ็งทำหรอ? เพราะในปัจจุบันมีบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับ Consultant ด้าน HR อยู่เยอะพี่โอ๊คเลยยื่นหนังสือเล่มหนึ่งให้กับพี่ เป็นหนังสือของต่างประเทศ เอามาให้พี่ศึกษา แล้วก็ในเนื้อหาในหนังสือมันเกี่ยวกับสาย HR แบบใหม่ที่ในสหรัฐอเมริกาใช้อยู่เยอะมาก พี่ก็เอามาดูเอามาศึกษาว่าส่วนไหนเราสามารถนำมาปรับประยุกต์ใช้กับคนในประเทศไทยและบริษัทของเราได้บ้าง มันจึงเกิด Products ขึ้นมาเกี่ยวกับด้าน Competency ที่เข้ามาสร้างสมรรถนะ ด้านพฤติกรรมของบุคลากรเป็นหลัก ดังนั้นมันก็เป็นโจทย์ใหม่สำหรับพี่เหมือนกัน แล้วนี่คือที่มาของ Products Trust Vision ครับ

คิดว่าหลักการนี้ใช้ได้จริงหรือไม่ ?
เอาจริงๆ ตอนแรกพี่ก็ไม่เชื่อว่า Function หรือเนื้อที่พี่ดึงมาจากหนังสือเล่มนี้มันจะใช้ได้เอาตรงๆ เลย เพราะพี่คิดว่าสมรรถนะหรือ Competency เนี่ยมีการพูดถึงอยู่ค่อนข้างเยอะเหมือนกัน แต่ว่าอยู่ในรูปแบบกระจัดกระจายในมุมมองของ Core Value โดยบริษัทได้กำหนด Competency หลักๆ มาตั้งเป็นCore Value ของบริษัท ไม่เกิน 4 ถึง 5 ข้อ เอามาตั้งและให้พนักงานยึดถือแต่ส่วนใหญ่พนักงานเกิน 50%ก็ไม่ได้อินกับมันเป็นเพราะว่าเป็นสิ่งที่ทางผู้บริหารเป็นคนตั้งขึ้นมา แล้วก็ให้พนักงานยึดถือและไม่ได้มีการเข้าไปบอกถึงผลดีผลเสียของข้อนั้นๆ เหมือนกับไปตีกรอบมากกว่าดังนั้น “Trust Vision” คือชุดพฤติกรรมที่ร่วมรวม competency ที่ร่วมรวมมาทั้งหมด 46 หัวข้อ เกือบ 50 หัวข้อซึ่งเราจะอธิบายถึงข้อดีข้อเสีย Competency ในแต่ละหัวข้อและบอกถึงเกณฑ์วัดผลอย่างไรเพื่อให้พนักงานเข้าใจถึงกรอบการวัด Trust Vision ให้กลายเป็นเทรนด์ใหม่ในองค์กร