Skip to content

Table of Contents

องค์กรที่มีการวางระบบที่มีตัวชี้วัดด้านพฤติกรรม จะเห็นปัญหาด้านคุณภาพของบุคลากรว่าเป็นอย่างไร สามารถหาแนวทางในการกำหนดแผนพัฒนาได้อย่างตรงจุด ค่อยๆผลักดันให้บุคลากรมีคุณภาพด้านพฤติกรรมได้อย่างชัดเจน และยังสามารถวิเคราะห์ถึงปัญหาที่เกิด แล้วสังเคราะห์เป็นกระบวนการพัฒนาได้อย่างมีคุณภาพอีกด้วย ซึ่งการใช้ Competency ในการพัฒนานั้นยังสามารถแยกประเภทของบุคลากรว่าอยู่ในระดับใดได้แล้วยังสามารถสร้าง Character ที่ดีได้อีกด้วยจากเครื่องมือที่เรียกว่า Talent Review

Hero! คือบุคคลที่มีความโดดเด่น ฮีโร่ล้วนแล้วแต่มีความมหัศจรรย์ที่ใครๆ ก็มองเห็น
The traveler! ออกเดินทางเพื่อค้นหาสิ่งที่ใช้สำหรับตนเอง
Vampire! ทำงานได้ แต่เริ่มหยุดพัฒนาตนเอง และเริ่มหยุดพัฒนารูปแบบงาน สิ่งใหม่เป็นเรื่องยาก
Zombie! ทำงานตามคำสั่ง ทำงานไปวันๆไม่มีจุดหมาย ปัญหาเกิดก็แก้ไขไม่ได้ ต้องให้หัวหน้า หรือทีมแก้ไข

          ” เมื่อพูดถึงคนที่เป็น Hero ในที่ทำงานเราก็คงจะคิดถึงคนที่มีความพิเศษเฉพาะตัว ที่มีทักษะความรู้ ความสามารถที่เหนือกว่าคนอื่นๆ รวมไปถึงทัศนคติที่ดีต่อการทำงานของพวกเขา ที่มีความโดดเด่นที่ใครๆ ก็มองเห็น  เพราะพวกเขาจะเป็นบุคคลคอยช่วยเหลือ ให้คำปรึกษาหรือคอยแก้ไขปัญหาให้คนอื่นๆ ในทีมได้อยู่เสมอ เป็นบุคคลที่มีภาวะความผู้นำที่ค่อนข้างสูง ไม่ใช่คนที่คอยเอาแต่สั่งงานเพื่อให้เพื่อนร่วมทีมหรือลูกน้อง ต้องทำตามคำสั่งอย่างเดียว แต่พวกเขาจะเป็นคนที่คอยชี้แนะแนวทางในการทำงานหรือช่วยหาวิธีการคิดในการแก้ปัญหา และยังเป็นคนที่สามารถให้ Feedback กับคนในทีม ได้อย่างตรงไปตรงมา  Hero จะคอยให้ความช่วยเหลือในเรื่องงานกับคนอื่นๆ  มากกว่ามองว่าสิ่งที่ทำต้องเป็นการแข่งขัน และจะยินดีกับความสำเร็จของผู้อื่นอยู่เสมอ และ Hero ที่คอยเยียวยาปัญหาในเรื่องงานได้แล้ว Hero ยังช่วยเยียวยาด้านจิตใจคนในทีมให้กลับมามีพลังได้เสมอ 

  CHARACTER

  • คือบุคคลที่มีความโดดเด่น ฮีโร่ล้วนแล้วแต่มีความมหัศจรรย์ที่ใครๆ ก็มองเห็น
  • มีคุณสมบัติเฉพาะตัว เช่น ความเก่ง ฉลาด เท่ห์ รักความซื่อสัตย์ ยุติธรรม กล้าหาญ ไม่กลัวอันตรายอะไร พร้อมสู้ พร้อมชน เสียสละ เข้มแข็ง อดทน ยึดมั่นความถูกต้อง
  • ทำงานเร็ว ถูกต้อง คุณภาพงานได้ เป็นที่ยอมรับ และไว้วางใจ

        The Traveler พวกเขาคือ นักเดินทางเพื่อค้นหาสิ่งที่ใช่สำหรับตนเอง ” ถ้าพูดถึงคนที่เป็นนักเดินทางในที่ทำงาน พวกเขาค่อนข้างที่จะเป็นคนที่มีความเป็น Diversity เพราะเป็นคนที่ชอบการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา มีความรู้ในหลายๆ เรื่อง หรือรู้มากกว่าหลายๆ คนในบางเรื่อง  คนกลุ่มนี้จะเป็นคนที่ชอบค้นหาตัวเองอยู่ตลอดว่า ว่าชอบหรือไม่ชอบทำอะไร  ส่วนมากในองค์กรจะพบเจอกับบุคคลลักษณะนี้ได้ในกลุ่มของเด็กที่จบใหม่ที่เพิ่งเริ่มเข้าสู่การทำงานอย่างเต็มตัว เพราะพวกเขาจะค้นหาตัวเองอยู่ตลอดเวลาเพื่อค้นหาเส้นทางหรือหนทางที่ใช่ คนกลุ่มนี้ถึงแม้จะเป็นคนที่ชอบการศึกษาหาความรู้อยู่ตลอดเวลา แต่ตรงกันข้ามพวกเขาเป็นคนที่ยังไม่โฟกัสเป้าหมายในชีวิตที่ชัดเจน หรือมีเป้าหมายชีวิตชัดเจนอยู่แล้วว่าอยากทำอะไร แต่เส้นทางในองค์กรไม่ได้สอดคล้องให้สามารถเติบโตได้ เลยต้องแสวงหาองค์กรที่ใช่เพื่อทำในสิ่งที่ชอบนั่นเอง และเราจะเห็นได้ว่ากลุ่มนี้จะเปลี่ยนงานบ่อยเพราะยังไม่ชัดเจนในเป้าหมายที่ค้นหาว่าจุดสูงสุดจะไปถึงจุดไหน

CHARACTER

  • ออกเดินทางเพื่อค้นหาสิ่งที่ใช้สำหรับตนเอง
  • ยังไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจนว่าจะเลือกอะไร หรือจะไปทางด้านไหนเฉพาะเจาะจง ขอลองก่อนเพื่อนำมาตัดสินใจว่าใช่ หรือ ไม่ใช่ ถ้าใช่ก็จะลองทำไปเรื่อยๆ ถ้าไม่ใช่ก็เปลี่ยนทางไปลองในสิ่งอื่น ยังไม่แน่ไม่นอน
  • ทำงานได้ เรียนรู้ได้ ผลงานมีคุณภาพปานกลาง ต้องพัฒนาทักษะเพิ่มเติม

            Vampire ในที่นี้ไม่ใช่ภูตผีปีศาจอะไร แต่แค่เป็นการเปรียบเทียบลักษณะของคนที่มีการทำงานแบบ ” Vampire คือ ทำงานได้ แต่เริ่มหยุดพัฒนาตนเอง และเริ่มหยุดพัฒนารูปแบบงาน สิ่งใหม่ที่เป็นเรื่องยาก ” ซึ่งลักษณะการทำงานของคนกลุ่มนี้จะเป็นการทำงานแค่ตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายหรืองานที่รับผิดชอบเพียงเท่านั้น แต่ก็ไม่ใช่ว่าพวกเขาเหล่านี้จะทำงานไม่ได้หรือทำอะไรไม่สำเร็จ เพียงแต่พวกเขาขาดการพัฒนาอยู่เสมอ ลักษณะของคนกลุ่มนี้ในองค์กรจะเป็นคนที่ไม่มีเป้าหมาย หรือตั้งเป้าหมายในตนเองเลยเพียงเพราะกลัวการเปลี่ยนแปลงและไม่สามารถรับต่อสภาวะแรงกดดันที่ค่อนข้างหนักได้ เพราะเมื่อใดที่พวกเขานั่นได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องงานพวกเขาเหล่านี้จะถอยตัวออกห่างจากงานๆ นั้นไป แต่หากพวกเขาเหล่านี้ได้รับความใส่ใจหรือได้รับโอกาสในการพัฒนาตัวเองก็จะสามารถนำพาให้พวกเขาเหล่านี้ประสบความสำเร็จได้เช่นกัน “

CHARACTER

  • ทำงานได้ แต่เริ่มหยุดพัฒนาตนเอง และเริ่มหยุดพัฒนารูปแบบงาน สิ่งใหม่เป็นเรื่องยาก
  • กลัวการที่ต้องมีเป้าหมายในงาน ภายในใจแอบติด Comfort Zone เพราะปลอดภัยกว่า มั่นใจกว่า
  • ไม่สามารถรับแรงกดดันที่รุนแรงได้ พยายามค่อยๆถอยออกมา เมื่อมีการตัดสินใจในงาน ผลงานครึ่งๆกลางๆ

” การทำงานแบบ Zombie คือการทำงานตามคำสั่ง ทำงานไปวันๆ ไม่มีจุดหมาย ปัญหาเกิดก็แก้ไขไม่ได้ ต้องให้หัวหน้า หรือทีมแก้ไข ” แน่นอนว่าเราสามารถพบเห็นกลุ่มคนเหล่านี้ได้ในหลายๆองค์กร กลุ่มคนที่ทำงานแบบ Zombie จะถือได้ว่าเป็นคนที่ยังไม่มีความพร้อมในการทำงาน  รวมทั้งเป็นคนที่ไม่มีการพัฒนาในเรื่องงานพวกเขาเหล่านี้จะทำงานแบบตามคำสั่งไปเรื่อยๆ โดยไม่มีการวางแผนในการทำงานเลยก็ว่าได้แต่จะเน้นการทำงานแบบตามคำสั่งไม่มีจุดมุ่งหมายในงานอย่างชัดเจน พวกเขาเหล่านี้จะไม่ค่อยสนใจในการพัฒนาตนเองเพื่อให้ประสบความสำเร็จ เพราะเมื่อต้องพบเจอกับปัญหาพวกเขาจะหลีกหนีปัญหานั้นๆ จนบางครั้งอาจร้ายแรงถึงขั้นทำให้คนในทีมหรือเพื่อนร่วมงานลำบากใจในการร่วมทำงานด้วย คนกลุ่มนี้ถือเป็นกลุ่มคนที่แก้ปัญหาได้ยาก แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะปรับปรุงพวกเขาไม่ได้แต่อาจจะต้องใช้ระยะเวลาที่ค่อนข้างนานในการปรับปรุงและพัฒนา หากองค์กรไหนที่กำลังต้องพบเจอกับกลุ่มคนประเภทนี้แน่นอนว่าจะทำให้ปวดหัวได้ไม่มากก็น้อย “

CHARACTER

  • ทำงานตามคำสั่ง ทำงานไปวันๆไม่มีจุดหมาย ปัญหาเกิดก็แก้ไขไม่ได้ ต้องให้หัวหน้า หรือทีมแก้ไข
  • ไม่มีการพัฒนาเพื่อเติบโต เน้นหลบ หลีก หนี เสมอเมื่อต้องเจอกับปัญหา
  • ผู้สร้างภาระงานให้กับทีม สร้างความลำบากใจให้กับทีมในการคอยแก้ไข

” การสร้าง Character ที่ดีต้องอาศัยกระบวนการพัฒนาที่เกิดประโยชน์สุงสุดต่อบุคลากร ดังนั้น Competency เป็นเครื่องมือสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาในจุดนี้ เพื่อได้เข้าถึงการวิเคราะห์ปัญหา และสังเคราะห์หลักสูตรได้ “

แบ่งปันบทความดีๆ

Facebook
Twitter
LinkedIn

บทความที่เกี่ยวข้อง