Competency พัฒนาบุคลากรในองค์กรอย่างไร ?
หลาย ๆ ท่านคงเข้าใจกันดีอยู่แล้วว่า Competency นั้นหมายถึงอะไร แต่ก็ยังมีอีกหลายท่านที่ไม่ยังเข้าใจว่าหลักการในการทำงานของ Competency นั้นเป็นอย่างไร?
หลักการทำงานของ Competency เป็นอย่างไร?
หลักการในการทำงานของ Competency เป็นการกำหนดกลุ่มพฤติกรรมที่มีความจำเป็นต่อการดำเนินงานขององค์กรนั้นๆ ซึ่งมีรูปแบบแตกต่างกันไปตามโครงสร้าง ภารกิจ ลักษณะงานขององค์กรนั้นๆ และความต้องการขององค์กรที่อยากนำ Competency ไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อย่างไร เช่น บางองค์กรอาจจะอยากนำ Competency ไปเป็นเพียงแค่ค่านิยมหลักขององค์กร (Core Competency) ซึ่งอาจเป็นสมรรถนะด้านพฤติกรรม ที่ทุกคนในองค์กรต้องยึดถือและปฏิบัติตามเพียงอย่างเดียว หรือสมรรถนะที่ถูกกำหนดขึ้นตามตำแหน่งงานซึ่งอาจเป็นสมรรถนะทั่วไป อย่างเดียวหรือทั้งสองอย่าง
ปัญหาที่พบบ่อยเมื่อนำ Competency ไปใช้กับองค์กร?
ตัวอย่างเช่น การนำ Competency มาใช้ภายในองค์กรไม่เป็นผลสำเร็จ และพนักงานไม่สามารถที่จะปฏิบัติตาม Competency ได้จริง เช่นจุดประสงค์องค์กรต้องการให้พนักงานรู้จักการเรียนรู้สิ่งใหม่ได้ด้วยตนเอง แต่องค์กรก็มุ่งเน้นเนื้อหาอย่างเดียวและยังไม่ได้เตรียมความพร้อมด้านสมรรถนะ หรือด้านพฤติกรรมของพนักงานว่ามีความพร้อมในการที่จะฝึกเรียนรู้สิ่งใหม่ได้ด้วยตนเองได้หรือไม่?
วิธีการแก้ไข
1.หัวหน้างานของแต่ละฝ่ายต้องเรียนรู้หลักการของ Competency ในแต่ละหัวข้อ เพื่อจะได้ทราบถึง Competency ในของนั้นๆมุ่งเน้นพัฒนาสมรรถนะทางด้านใด
2.หัวหน้างานของแต่ละฝ่ายต้องศึกษา Framework ในแต่หัวข้อ เพื่อวางแผนการพัฒนา Competency อย่างถูกต้องเพื่อสร้างผลลัพธ์ที่ดีในการพัฒนา
3.หัวหน้างานของแต่ละฝ่ายต้องกำหนด Competency ให้ชัดเจนว่าควรจะต้องเริ่มพัฒนาสมรรถนะด้านใดก่อนหลัง เพื่อง่ายต้องการเริ่มพัฒนาที่ตรงจุด
ดังนั้น ใน “Trust Vision เราได้กำหนดหลักการทำงาน Competency” ไว้อย่างชัดเจนเพื่อให้เหมาะสมกับทุกองค์กรที่กำลังมองหา Competency ที่ดีและเหมาะกับองค์กรของตนเอง เรามีการกำหนดชุดพฤติกรรมที่ควรมีในที่ทำงานไว้อย่างครอบคลุม และเพื่อให้มีการพัฒนาบุคลากรได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดเป็นประสิทธิผล เป็นไปตามโครงสร้าง ภารกิจ ลักษณะงานขององค์กร
“และยังมีกรอบการวัดผลและตัวชี้วัด สามารถตัดเกรดรายบุคคล” โดยที่สามารถบอกได้ว่า บุคคลใดจัดอยู่ในกลุ่มใด และควรพัฒนาไปในทิศทางใด ในหลายๆ องค์กรในประเทศไทย ไม่มีกรอบการวัดผลและตัวชี้วัดด้าน Competency ที่สามารถตัดเกรดรายบุคคลได้ จึงทำให้องค์กรไม่สามารถที่จะผลักดันบุคลากรได้อย่างตรงจุด และไม่ทราบว่าบุคลากรที่มีอยู่นั้นพวกเขามีศักยภาพมากน้อยแค่ไหน ดังนั้นองค์กรจึงจำเป็นต้องมีกรอบการวัดชุดพฤติกรรมพนักงานที่ชัดเจนและวัดผลได้ สามารถที่จะตอบคำถามพนักงานอย่างตรงไปตรงมาได้ว่าทำไมพวกเขาถึงได้ถูกประเมินออกมาเป็นแบบนี้ แล้วกรอบการวัดผลนี้ จะลดการประเมินผลแบบถูกใจของผู้ประเมินมากกว่าความถูกต้องได้แน่นอน
ที่สำคัญองค์กรยังสามารถ “รู้แนวทางการพัฒนาบุคลากรได้อย่างตรงจุด ตรงสายงานที่รับผิดชอบ” อีกด้วย เนื่องจากองค์กรสามารถทราบได้ว่าบุคลากรนั้น ยังขาดความรู้ความสามารถด้านไหน และควรพัฒนาบุคลากรแบบไหนถึงจะเหมาะกับลักษณะงานของแต่ละคนที่รับผิดชอบอยู่ ทำให้บุคลากร “มีเป้าหมายในงานที่ชัดเจนและสอดคล้องกับการทำงาน” การที่บุคลากรขององค์กรมีเป้าหมายในการทำงานที่ชัดเจน จะช่วยทำให้องค์กรประสบความสำเร็จได้เร็วยิ่งขึ้นอีกด้วย