Skip to content

Table of Contents

อัตตา หรือ Ego สำคัญต่อการทำงานอย่างไร?

ถ้าให้พูดถึงเรื่องอัตตาหรือที่คนส่วนใหญ่รู้จักกันในคำว่าอีโก้ในมุมมองของ Trust Vision แบ่งออก 3 ระดับด้วยกัน ระดับอีโก้ต่ำ ระดับอีโก้สูง และระดับอีโก้เหมาะสม ซึ่งเป็นสิ่งที่เราแสดงออกมาเพื่อแสดงถึงความมั่นใจในตนเองหรือขาดความมั่นใจในตนเอง มีองค์ประกอบมาจากหลายหลากปัจจัยเช่น ทางด้านสังคม ระดับการศึกษา ความรู้ ความสามารถ รวมไปถึงทัศนคติ ซึ่งอีโก้สามารถเป็นได้ทั้งข้อดีและข้อเสีย

ระดับอัตตาทั้ง 3 ระดับมีแตกต่างกันอย่างไร?

Trust Vision ขอยกตัวอย่างระดับอัตตาทั้ง 3 ระดับตามแบบฉบับ Trust Vision โดยการยกตัวอย่างสถานการณ์ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจมากยิ่งขึ้นตามสถานการณ์ดังนี้

ระดับ Ego ต่ำ

สถานการณ์การเข้าร่วมประชุม (ระดับ Ego ต่ำ)

1.เงียบเฉย ไม่ออกความเห็น

2.ไม่ใส่ใจ สนใจเรื่องอื่น

3.นินทาลับหลัง

สถานการณ์การประสานงานกับบุคคลอื่น (ระดับEgoต่ำ)

1.คล้อยตามง่าย

2.พูดไม่ตรงประเด็น ตีความผิดๆ

3.นินทาหลับหลัง

ระดับ Ego สูง

สถานการณ์การเข้าร่วมประชุม (ระดับ Ego สูง)

1.คัดค้านทันที โดยไม่รับฟังให้เข้าใจ

2.หักหาญน้ำใจผู้อื่นในที่ประชุม

3.ไม่รับฟังข้อดี ข้อเสีย ยึดแต่ความคิดของตนเอง

สถานการณ์การประสานงานกับบุคคลอื่น (ระดับ Ego สูง)

1.สั่งงานมากกว่าประสานงาน

2.บังคับให้ทำตาม โดยไม่มีเหตุผล

3.ไม่รับฟังอีกฝ่ายว่าต้องการอะไร

ระดับ Ego เหมาะสม

สถานการณ์การเข้าร่วมประชุม (ระดับ Ego เหมาะสม)

1.รับฟังผู้พูดจนเข้าใจ

2.ซักถามในกรณีที่ไม่เข้าใจ ใช้ภาษา ท่าทาง อย่างเหมาะสม

3.นำเสนอ ชี้แนะ อย่างเหมาะสม ตรงประเด็น

สถานการณ์การประสานงานกับบุคคลอื่น (ระดับ Ego เหมาะสม)

1.แสดงความคิดเห็นตรงไปตรงมาโดยมีเหตุผล

2.หาจุดลงตัว และข้อเสนอแนะที่เหมาะสม

3.หาเหตุผล โดยนำข้อดี ข้อเสีย มาปรึกษาร่วมกันหาข้อสรุป

นอกจากสถานการณ์ที่ทาง Trust Vision ได้ยกตัวอย่างข้างต้น Ego จะแฝงตัวอยู่เสมอทั้งด้านผู้ให้ Feedback และ ผู้รับ Feedback โดยมีพฤติกรรมดังนี้

ระดับ Ego ในการให้ Feedback ระดับ ต่ำ

1.การแสดงความชื่นชมลับหลังและการตำหนิอย่างรุนแรงเกินไป

2.ใช้คำพูดที่รุนแรงเกินไปในการให้ Feedback เหมือนการ บูลลี่กัน

3.ไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับ Feedback ได้มีโอกาสชี้แจ้ง ให้เข้าใจตรงกัน

ระดับ Ego ในการให้ Feedback ระดับ สูง

1.การแสดงความชื่นชมต่อหน้ามากเกินไป  และไม่ตำหนิในข้อผิดพลาดเลย

2.ใช้คำพูดที่ดีเกินไป จนคนรับ Feedback คิดว่าสิ่งที่ทำถูกต้องแล้ว

3.เปิดโอกาสให้ผู้รับ ได้ชี้แจ้งอธิบายมากเกินไปจนไม่ยอมรับข้อผิดพลาด

ระดับ Ego ในการให้ Feedback ระดับ เหมาะสม

1.Positive Feedback การแสดงความชื่นชม ทั้งต่อหน้าและลับหลัง

2.Negative Feedback กล้าที่จะตำหนิหรือแจ้งให้ทราบถึงข้อผิดพลาด

3.ใช้คำพูดที่เหมาะสม เชิงสร้างสรรค์

4.เปิดโอกาสให้ผู้รับ Feedback ได้ชี้แจ้งและอธิบายบ้าง เพื่อให้เข้าใจตรงกัน

ระดับ Ego ในการรับ Feedback ระดับ ต่ำ

1.ดื้อเงียบ ไม่ยอมรับ

2.โทษคนอื่น

3.ปัดความรับผิดชอบ

ระดับ Ego ในการรับ Feedback ระดับ สูง

1.เถียงกลับ ไม่รับฟังเหตุผล

2.ซักแม่น้ำทั้ง5

3.ท้าทายอำนาจ

ระดับ Ego ในการรับ Feedback ระดับ เหมาะสม

1.ไม่ล้ำเส้นคนอื่น ให้เกียรติคนอื่นเสมอ

2.แสดงจุดยืนด้วยสาเหตุที่เป็นจริง

3.เหตุผลที่เป็นจริงเป็นที่ยอมรับ

อัตตา หรือ Ego มีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันอย่างไร?

ข้อดี

การที่เรามีระดับ Ego ที่เหมาะสมจะสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถเสนอแนะข้อดี ข้อเสีย เพื่อให้จุดลงตัวร่วมกันได้

ข้อเสีย

การที่มีระดับ Ego ที่ต่ำหรือสูงจนเกินไป ในการทำงานร่วมกับผู้อื่นมักจะเกิดปัญหาตามมาและเกิดข้อพิพาทระหว่างตัวบุคคลหรืออาจจะรุนแรงถึงระดับทีม

ดังนั้นสิ่งที่ควบคุม Ego ของเราได้ดีที่สุดคือสติเมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องร่วมงานกับบุคคลอื่นต้องมีสติเสมอ เพื่อเลือกใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์และร่วมกันหาทางออกที่ดีที่สุดโดยการใช้ระดับ Ego ที่เหมาะสมตามที่ทางทีม Trust Vision ได้ยกตัวอย่างข้างต้น 

ทางทีม Trust Vision หวังว่าผู้อ่านจะได้รับประโยชน์และสามารถนำความรู้จากเรื่อง Ego ในครั้งนี้ไปปรับใช้กับการทำงานของทุกท่านต่อไปในอนาคต

แบ่งปันบทความดีๆ

Facebook
Twitter
LinkedIn

บทความที่เกี่ยวข้อง