Skip to content

Table of Contents

ทำไมคนเราถึงกลัวการเปลี่ยนแปลง?

คนส่วนใหญ่มักจะกลัวการเปลี่ยนแปลง เป็นเพราะพวกเขากลัวความล้มเหลวหรือไม่  หรือเขาเป็นคนกลุ่มคน fixed mindset เชื่อได้เลยว่าการกลัวความล้มเหลวเกิดขึ้นได้กับทุกคน เพราะการเปลี่ยนแปลงทุกครั้งย่อมมาพร้อมกับความเสี่ยงเสมอ ทุกคนมักจะสร้างกำแพงป้องกันตัวเอง เพื่อไม่ให้พบเจอความผิดพลาดหรือความล้มเหลว การที่เราลงมือทำสิ่งใหม่เรามักจะทุ่มเททั้งแรงกายแรงใจในการทำสิ่งนั้น แต่เราไม่รู้เลยว่าอนาคตสิ่งที่เราทำอยู่จะประสบความสำเร็จหรือไม่ ดังนั้นไม่น่าแปลกใจเลยว่าทำไมทุกคนมักจะกลัวความล้มเหลวและที่สำคัญการกลัวการเปลี่ยนแปลงไม่จำเป็นต้องเป็นคน fixed mindset เสมอไป มันสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่อยู่ที่เราจะสามารถก้าวผ่านสิ่งนั้นได้อย่างไรมากกว่า

วิธีการแก้ไขการกลัวกการเปลี่ยนแปลงโดยปรับเปลี่ยน midset  5 วิธีดังนี้

1.เปิดโอกาสให้ตัวเองได้ทำสิ่งใหม่เสมอ เพื่อเพิ่มความกล้าให้กับตัวเองในการพัฒนาความมั่นใจและสามารถกล้าที่จะก้าวผ่านความกลัวที่เกิดขึ้นภายในจิตใจ

2.กล้าเผชิญหน้ากับความผิดพลาด การที่เรายอมรับความจริงกล้าเผชิญหน้ากับสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ว่าสิ่งนั้นจะผิดพลาดหรือสำเร็จ เพื่ออยู่บนโลกแห่งความเป็นจริงและไม่กลัวการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นก็พร้อมรับมือเสมอ

3.ไม่กลัวความล้มเหลว การที่เราไม่กลัวการล้มเหลวจะทำให้เราไม่กลัวที่จะทำสิ่งใหม่ๆ ความล้มเหลวก็มีข้อดีเพราะจะทำให้เราแข็งแกร่งขึ้นและไม่ทำผิดพลาดในเรื่องนั้นซ้ำอีก 

4.ไม่กลัวการถูกปฏิเสธ การนำเสนองานบางครั้งอาจจะถูกปฏิเสธจากหัวหน้างานหรือผู้บังคับบัญชา แต่การถูกปฏิเสธงานก็ถือได้ว่าเป็นโอกาสดีในการที่เราจะขอคำแนะนำจากสิ่งที่หัวหน้างานหรือผู้บังคับบัญชามองเห็นว่ายังไม่สมบูรณ์หรือที่ขาดหายไปจากสิ่งที่เรานำเสนอ เพื่อนำมาปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น

5.กล้าที่จะขอคำแนะนำจากผู้อื่น การที่เราต้องเปลี่ยนแปลงไม่ว่าเรื่องงานหรือเรื่องอื่นๆสิ่งที่ดีที่สุดคือการมีที่ปรึกษาที่ดี เพื่อได้คำแนะนำที่ดีในการสร้างแนวทางในการทำสิ่งใหม่ได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น การที่กล้าขอคำแนะนำยิ่งจะทำให้เราได้เห็น idea ที่แตกต่างและทำให้เรามองเห็นภาพได้กว้างขึ้น

 

” การกลัวการเปลี่ยนแปลงไม่จำเป็นต้องเป็นกลุ่มคน Fixed mindset เสมอไป สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ดังนั้นเริ่มเปลี่ยน Midset โดยเปิดโอกาสให้ตัวเองได้ลองทำสิ่งใหม่ๆ เพื่อความสำเร็จในอนาคตด้วย 5 วิธีตามแบบฉบับ Trust Vision “

แบ่งปันบทความดีๆ

Facebook
Twitter
LinkedIn

บทความที่เกี่ยวข้อง