Social Intelligence คืออะไร?
ความฉลาดทางสังคม (Social Intelligence) อาจเรียกได้ว่า สามัญสำนึกนั่นเอง คือการที่เราสามารถพาตัวเราเองเข้ากับผู้อื่นได้โดยง่าย ซึ่งจะนำไปสู่การเข้าสังคม การอยู่ร่วมกับผู้อื่น การเป็นที่รักของผู้อื่น ถือเป็นความสามารถอย่างดีในการเข้าอกเข้าใจผู้อื่น และเห็นใจผู้อื่น นั่นซึ่งจะช่วยให้ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานได้เป็นอย่างดี และเราเคยสังเกตไหมว่าทำไมคนที่เก่ง ทั้งทางด้านสติปัญญา และมี IQ สูง เก่งในเรื่องการจัดการไม่ว่าจะในด้านอารมณ์ในการทำงาน และยังเป็นคนที่มี EQ ความฉลาดทางอารมณ์สูงไม่แพ้กัน แต่พวกเขาเหล่านั้นกลับยังไม่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานพอสมควร นั่นอาจเป็นเพราะว่า พวกเขายังขาดความฉลาดทางสังคม ซึ่งส่วนนี้ที่จะเป็นตัวช่วยปูทางสู่ความสำเร็จได้
คนที่มีนิสัยที่เป็นจุดแข็งทางด้านความฉลาดทางสังคม คือคนที่ยอมรับในความแตกต่างในแบบของคนแต่ละคน และมีทักษะในการตอบสนองต่อความแตกต่างกันได้ในหลายรูปแบบ ซึ่งแม้ว่าสิ่งที่กำลังทำความเข้าใจนั้นไม่ใช่สิ่งที่ตนเองชอบใจมากเท่าไหร่ แต่ก็พร้อมจะทำความเข้าใจ ซึ่งการทำความเข้าใจและยอมรับมุมมองความคิด หรือพฤติกรรมของคนในสังคมที่แตกต่างต่างกันของแต่ละบุคคลจัดว่าเป็นทักษะที่มีความสำคัญสามารถช่วยลดโอกาสในการเกิดความขัดแย้งระหว่างคนในสังคมขึ้นได้เป็นอย่างดีเลยก็ว่าได้ แต่อย่างที่ว่าถ้ามีมากเกินไปหรือน้อยเกินไปก็อาจจะหาสมดุลให้กับตนเองไม่ได้และอาจจะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตในการเข้าสู่สังคมนั่นเอง
คนที่มีนิสัยที่เป็นจุดแข็งทางด้านความฉลาดทางสังคม คือคนที่ยอมรับในความแตกต่างในแบบของคนแต่ละคน และมีทักษะในการตอบสนองต่อความแตกต่างกันได้ในหลายรูปแบบ ซึ่งแม้ว่าสิ่งที่กำลังทำความเข้าใจนั้นไม่ใช่สิ่งที่ตนเองชอบใจมากเท่าไหร่ แต่ก็พร้อมจะทำความเข้าใจ ซึ่งการทำความเข้าใจและยอมรับมุมมองความคิด หรือพฤติกรรมของคนในสังคมที่แตกต่างต่างกันของแต่ละบุคคลจัดว่าเป็นทักษะที่มีความสำคัญสามารถช่วยลดโอกาสในการเกิดความขัดแย้งระหว่างคนในสังคมขึ้นได้เป็นอย่างดีเลยก็ว่าได้ แต่อย่างที่ว่าถ้ามีมากเกินไปหรือน้อยเกินไปก็อาจจะหาสมดุลให้กับตนเองไม่ได้และอาจจะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตในการเข้าสู่สังคมนั่นเอง
ดังนั้น หากมีหรือให้ความสำคัญกับการที่ต้องมีความฉลาดทางสังคมมากจนเกินไป อาจส่งผลต่อบุคลิกและทักษะในการเข้าร่วมสังคม ที่ซึ่งในบางครั้ง บางช่วงเวลาอาจทำให้สูญเสียความเข้าใจในตนเอง และหากขาดความฉลาดทางสังคมมากจนเกินไปจะถูกมองว่าเป็นคนที่ขาดความเข้าใจต่อสถานการณ์หรือขาดความเข้าใจในตนเองหรือผู้อื่น ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อการอยู่ร่วมกันในสังคม และกลายเป็นคนที่เก็บตัวได้
ถ้าอยากมีความฉลาดทางสังคมต้องทำอย่างไรบ้างนะ?
ถ้าอยากมีความฉลาดทางสังคม เราสามารถพัฒนาได้ด้วยตนเอง ด้วยวิธีการหมั่นฝึกฝนทักษะดังต่อไปนี้ ขณะเดียวกันก็ควรเปิดใจให้กว้าง มีความเห็นอกเห็นใจต่อผู้อื่น มีความยืดหยุ่น และพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเสมอ

1. รู้สถานการณ์ คือความสามารถเข้าใจ และมีความฉลาดในการอ่านสถานการณ์และตีความพฤติกรรมของคนในแต่ละประเภทตามรูปแบบของสถานการณ์ และสามารถเรียนรู้วิธีในการรับมือต่อสภาวะที่เจอ และมีความยืดหยุ่นอย่างเหมาะสม

2. ความจริงใจ คือพฤติกรรมที่ทำให้คนอื่นตัดสินว่าคุณเป็นคนซื่อสัตย์ เปิดเผย และเป็น “คนจริงใจ” โดยแท้จริง คนเราไม่ว่าจะคบกับใคร จะคบกันในสถานะไหนเรื่องของ “ความจริงใจ” เป็นสิ่งสำคัญที่สุดยิ่งถ้าจะให้คำว่าจริงใจมีมากขึ้นมันต้องออกมาในรูปแบบของการที่เราให้ความจริงใจใครไปผลที่กลับมาก็คือความจริงใจที่ตอบกลับมา แบบนั้นก็ย่อมทำให้เรารู้สึกดี และความจริงใจที่ได้รับกลับมานี้แหละค่ะจะเป็นเสมือนกำลังใจ ที่จะทำให้เราทำสิ่งดีๆ กับคนอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น

3. ความเห็นอกเห็นใจ คือการเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ถ้าจะให้อธิบายสั้นๆนั้นก็คือการเอาใจเขามาใส่ใจเรา หรือก็คือการพยายามเข้าใจสถานการณ์ มุมมองและความรู้สึกของอีกฝ่าย และเรียนรู้ที่จะสื่อสารความเข้าใจนั้นให้อีกฝ่ายได้รับรู้เพราะฉะนั้นแล้วทักษะการเห็นอกเห็นใจผู้อื่น นอกจากจะเป็นทักษะสำคัญในการเข้าสังคมแล้ว ยังเป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินชีวิตอีกด้วยค่ะ

4. ไม่ด่วนตัดสินคน คือคนที่มีความฉลาดทางสังคมจะไม่ตัดสินคนจากหน้าตา จากฐานทางสังคม เช่น คนจน คนรวย แต่ให้เกียรติเท่าเทียมกันทุกคน ไม่ว่าจะคนคนนั้นจะทำงานหรือจะประกอบอาชีพอะไรก็แล้วแต่ เพราะคนจนในวันนี้ อาจเป็นคนรวยในอีกข้างหน้าก็ได้ อย่าตัดสินคนอื่นแต่เพียงแค่ภายนอก ให้มองลึกลงไปถึงจิตใจของพวกเขานั้นเองค่ะ

5. เป็นผู้ฟังที่ดี คือการฟังอย่างให้เข้าใจอย่างแท้จริงเป็นการฟังที่ทำให้เราสามารถช่วยคนที่อยู่ข้างหน้าเราที่กำลังมีความทุกข์ หรือมีปัญหา ไม่ว่าจะคนรอบข้าง ครอบครัว หรือความสำคัญในการสื่อสาร การทำงานร่วมกัน ภาวะความเป็นผู้นำ จนถึงความสำคัญเชิงจิตวิญญาณนั่นเอง สำหรับคนที่มีความฉลาดทางด้านสังคมสูง เขาจะฟังและคิดตาม คิดแบบไม่เอาความรู้สึกหรืออารมณ์ส่วนตัวใส่เข้าไปร่วมด้วย ซึ่งคนจำนวนมากมักนำเรื่องราวของตัวเองมากั้นระหว่างฟังจึงกลายเป็นว่า “ได้ยิน แต่ ไม่ได้ฟัง” ถึงเรื่องที่ผู้พูดต้องการที่จะสื่อออกไป
ดังนั้นแล้ว ทักษะในด้านความฉลาดทางสังคม สามารถพัฒนาให้ดีขึ้นได้ ด้วยการไม่เมินเฉยกับคนที่เราเจอ ทำความเข้าใจในตัวพวกเขาหรือคนรอบข้างตั้งใจฟังในทุกๆ บทสนทนา คอยให้ความช่วยเหลือกับคนที่มีปัญหา และองค์กรยังสามารถสนับสนุนให้พนักงานเป็นคนที่มีความฉลาดทางสังคม ได้เช่นกัน ไม่ใช่เพียงแค่ปล่อยให้พนักงานฝึกฝนด้วยตัวเอง อาจจะมีการที่ว่าจัดกิจกรรมเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในองค์กร และให้พนักงานได้มีส่วนร่วม ก็ถือว่าเป็นส่วนช่วยในการพัฒนาทักษะด้านนี้ได้ เพราะการที่เราจะประสบความสำเร็จในโลกที่มีแต่ความแตกต่างและหลากหลาย เราไม่อาจเดินไปในเส้นทางได้ด้วยตัวคนเดียว เพราะเรายังจะต้องมีคนที่รักและเข้าใจเราเช่นกันค่ะ
หากต้องการอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับสติปัญญา Intelligence คืออะไร? และสำคัญต่อการทำงานแค่ไหน ?