5 ข้อดีของการทำ ROPA ภายในองค์กร

5 ข้อดี ของการทำ ROPA ภายในองค์กร

วันนี้ Trust vision มีเนื้อหาที่น่าสนใจเกี่ยวกับ 5 ข้อดี ของการทำ ROPA ภายในองค์กร มาแชร์ให้กับทุกท่านได้รับทราบกันค่ะ

มีประกาศคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เรื่อง การยกเว้นการบันทึกรายการของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งเป็นกิจการขนาดเล็ก .. 2565 อาทิ วิสาหกิจขนาดย่อมหรือวิสาหกิจขนาดกลาง , วิสาหกิจชุมชนหรือเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน , วิสาหกิจเพื่อสังคมหรือกลุ่มกิจการเพื่อสังคม , สหกรณ์ ชุมนุมสหกรณ์ หรือกลุ่มเกษตรกร , มูลนิธิ สมาคม องค์กรศาสนา หรือองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร , กิจการในครัวเรือนหรือกิจการอื่นในลักษณะเดียวกัน จะต้องไม่เป็นผู้ให้บริการที่ต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ตามกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เว้นแต่จะเป็นผู้ให้บริการประเภทผู้ให้บริการร้านอินเทอร์เน็ต หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความเสี่ยงที่จะมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามมาตรา 26

สำหรับการบันทึกกิจกรรมประมวณผลจะยึดตามกฎหมายลูก PDPA ที่มีประกาศเพิ่มเติมวันที่ 20 มิ..2565 ระบุให้ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลต้องจัดทำและเก็บรักษาบันทึกรายการของกิจกรรมการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลตามวรรคหนึ่งเป็นลายลักษณ์อักษร โดยจะจัดทำเป็นหนังสือหรือในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ แต่จะต้องเข้าถึงได้ง่าย และสามารถแสดงให้เจ้าหน้าที่ชุดดังกล่าวมอบหมายตรวจสอบได้อย่างรวดเร็วเมื่อมีการร้องขอ

โดยประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 180 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป อ่านฉบับเต็มได้ที่ : กฎหมายลูกประกาศเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ROPA

Record of rocessing activity หรือการจัดบันทึกการประมวณผลข้อมูลส่วนบุคคล กิจกรรมนี้ช่วยให้องค์กรสามารถปฏิบัติตามมาตรา 39 และมาตรา 40 (3) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 โดยต้องบันทึกกิจรายละเอียดเกี่ยวกับกิจกรรมการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่เกิดขึ้นในองค์กร

ข้อดีของการทำ Record of rocessing activity

ข้อที่ 1 ทำให้องค์กรเห็นภาพรวมของกิจกรรมการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลทั้งหมด อย่างที่ทุกท่านทราบกันดีว่า Record of rocessing activity  คือการบันทึกการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล อันประกอบไปด้วย รายชื่อกิจกรรมการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล, สถานที่จัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล, วัตถุประสงค์ของการจัดเก็บ, รถบุรายชื่อบุคคลที่สามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นได้ หรือ ระยะเวลาการทำลายข้อมูล ซึ่งตัว Record of rocessing activity  ก็เปรียบเสมือนแผนที่ ที่บ่งบอกการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลทั้งหมดภายในองค์กร ทำให้เห็นภาพรวมกิจกรรมทั้งหมดและรวมไปถึงกิจกรรมการใช้ข้อมูลที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยหรือคาดไม่ถึง หากองค์กรทำ Record of rocessing activity  จนบรรบุความสำเร็จ กระบวนการอื่นที่เกี่ยวข้องจะกลายเป็นเรื่องง่าย และสามารถอัพเดทข้อมูลกิจกรรมต่าง ๆ ให้เป็นปัจจุบันได้สะดวกยิ่งขึ้น

ข้อที่ 2 Record of rocessing activity เกี่ยวข้องกับการประกาศนโยบายความเป็นส่วนตัว หากองค์กรทำ Record of rocessing activity  สำเร็จแล้ว องค์กรจะเห็นภาพการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลทั้งหมดภายในองค์กร ซึ่งจะทำให้การออกประกาศนโยบายความเป็นส่วนตัวหรือ Privacy Notice นั้นครอบคลุมกิจกรรมและข้อมูลส่วนบุคคลที่ต้องการใช้ทั้งหมด ขณะเดียวกันหากองค์กรทำการร่าง Privacy Notice ก่อนการทำ Record of rocessing activity  อาจมีกิจกรรมการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลบางอย่างที่คาดไม่ถึงและตกหล่นไป และอาจต้องเสียเวลาในการขอคำยินยอมใหม่

ข้อที่ 3 เพื่อเตรียมพร้อมและรองรับการใช้สิทธิ์ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล จากข้อที่ 1 หากองค์กรเห็นภาพรวมการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลภายในองค์กรทั้งหมดแล้ว การดำเนินการเพื่อขอใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูล จะสามารถจัดการสิทธิ์ได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง

ข้อที่ 4 สร้างวัฒนธรรมการตระหนักรู้เรื่องความเป็นส่วนตัวภายในองค์กร เมื่อองค์กรเข้าใจกิจกรรมการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลทั้งหมดภายในแผนก และเข้าใจความสำคัญของข้อมูลส่วนบุคคลแล้ว จะเอื้อให้เกิดการสร้างการตระหนักรู้ในการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลภายในแผนกได้ เมื่อกพนักงานในองค์กรตระหนักรู้และเห็นความสำคัญโดยพร้อมเพรียงกัน การตระหนักรู้จะเกิดขึ้นในกระบวนการทำงานได้อัตโนมัติ

ข้อที่ 5 เพื่อ Comply กฎหมาย PDPA ปัจจุบันและอนาคตที่จะเกิดขึ้น อย่างที่ทุกท่านทราบว่าการทำ Record of rocessing activity  ถือเป็นกระบวนหนึ่งในการปฏิบัติตามกฎหมาย PDPA ตามมาตรา 39 และหากในอนาคตมีกฎหมายลูกหรือกฎหมายพิเศษที่เกี่ยวข้องออกมา การทำ Record of rocessing activity  จะเป็นหนึ่งในกระบวนการที่ช่วยให้การ Comply กฎหมายใหม่เหล่านั้นได้ง่ายมากขึ้นนั้นเอง

สามารถอ่าน content ที่น่าสนใจได้ที่ สรุปบทลงโทษกฎหมาย PDPA หากไม่กระทำตาม

Privacy Notice คืออะไร?

Privacy Notice คืออะไร?

Privacy Notice คืออะไร?

          Privacy notice หรือ ประกาศความเป็นส่วนตัว หมายถึง เอกสารที่ออกโดยองค์กรซึ่งใช้ในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อแสดงแก่บุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูลในการแจ้งถึงวัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งานไปเปิดเผย เอกสารประกาศความเป็นส่วนตัว นั้นมีจุดประสงค์สำคัญหลัก 2 ประการ คือ เพื่อส่งเสริมความโปร่งใสและเพื่อให้บุคคลผู้เป็นเจ้าของข้อมูลสามารถควบคุมวิธีการรวบรวมและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของตนเองได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งความโปร่งใสและการแจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบเกี่ยวกับวิธีการใช้ รวบรวมหรือเผยแพร่ข้อมูลเป็นหลักการสำคัญพื้นฐานของกฎหมายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

           ประกาศความเป็นส่วนตัว เหมือนกับ นโยบายความเป็นส่วนตัว  หรือไม่?

           แม้ว่าประกาศความเป็นส่วนตัว และ นโยบายความเป็นส่วนตัว จะครอบคลุมหัวข้อและเนื้อหาเดียวกันในหลายหัวข้อ แต่ก็ยังคงมีความแตกต่างกัน คือ ประกาศความเป็นส่วนตัว เป็นเอกสารที่สาธารณะที่หลาย ๆ บุคคลที่จะสามารถเข้าถึงในเอกสารได้ และเป็นการเขียนขึ้นเพื่อแจ้งเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในเรื่องในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลต่าง ๆ แต่ในขณะที่เอกสารนโยบายความเป็นส่วนตัว นั้นเป็นเอกสารสำหรับใช้ภายในองค์กร ที่จะมีอธิบายถึงรายละเอียดภาระหน้าที่และรวมทั้งแนวทางในปฏิบัติขององค์กรเพื่อที่จะให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนั้นเอง

การเขียนประกาศความเป็นส่วนตัว  จะต้องระบุอะไรบ้าง?

ในการเขียนประกาศความเป็นส่วนตัว ควรมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้

  1. วัตถุประสงค์ของการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้หรือเปิดเผย
  2. ประเภทของข้อมูลส่วนบุคคลที่จะถูกประมวลผล ควรมีความชัดเจนเรื่องประเภทของข้อมูลส่วนบุคคลที่จะเก็บรวบรวม ใช้หรือเผยแพร่
  3. ฐานในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ฐานในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล โดยประกาศความเป็นส่วนตัวควรระบุว่าใช้ฐานในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลใดในการประมวลผลแต่ละวัตถุประสงค์ ต้องแจ้งให้ทราบถึงกรณีที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลต้องให้ข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายหรือสัญญาหรือมีความจำเป็นต้องให้ข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อเข้าทำสัญญา รวมทั้งแจ้งถึงผลกระทบที่เป็นไปได้จากการไม่ให้ข้อมูลส่วนบุคคล
  4. ข้อมูลจะถูกประมวลผลอย่างไร และ ระยะเวลาในการจัดเก็บ ประกาศความเป็นส่วนตัวต้องอธิบายว่าข้อมูลส่วนบุคคลที่รวบรวมจะมีวิธีการประมวลผลอย่างไร จะมีการแบ่งปันข้อมูลส่วนบุคคลที่รวบรวมกับบุคคลที่สามหรือไม่ และวิธีคุ้มครองดังกล่าวเป็นอย่างไร ประกาศความเป็นส่วนตัวต้องระบุว่าระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลเป็นอย่างไร
  5. สิทธิ์ของเจ้าของข้อมูล สิทธิ์ในการใช้ข้อมูลแก่บุคคลผู้เป็นเจ้าของข้อมูล 8 ข้อ ซึ่งในประกาศความเป็นส่วนตัวควรแสดงรายการและอธิบายสิทธิ์ดังกล่าวด้วย อ่านเพิ่มเติม  สิทธิของเจ้าของข้อมูล
  1. ประเภทของบุคคลหรือหน่วยงานที่ข้อมูลส่วนบุคคลอาจจะถูกเปิดเผย หากองค์กรได้รับข้อมูลส่วนบุคคลผ่านองค์กรอื่น ประกาศความเป็นส่วนตัวจะต้องให้ข้อมูลเดียวกันทั้งหมดยกเว้นการให้ข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายหรือสัญญาหรือมีความจำเป็นต้องให้ข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อเข้าทำสัญญา
  2. การติดต่อ ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล สถานที่ติดต่อ และวิธีการติดต่อ ในกรณีที่มีตัวแทนหรือเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ให้แจ้งข้อมูล สถานที่ติดต่อ และวิธีการติดต่อของตัวแทนหรือเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลด้ว

หลักการใช้ภาษาในการเขียน ประกาศความเป็นส่วนตัว ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง?

  • เขียนด้วยรูปแบบและข้อความที่ชัดเจน กระชับ โปร่งใส เข้าใจได้
  • เข้าถึงได้ง่าย
  • ภาษาที่อ่านง่าย และไม่เป็นการหลอกลวง
  • หลีกเลี่ยงคำศัพท์ทางกฎหมายและคำศัพท์ทางเทคนิค

          ประกาศความเป็นส่วนตัว  นั้นถือว่าเป็นข้อกำหนดตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อให้แน่ใจว่าบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูลนั้นได้รับทราบวิธีการในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของตนเองก่อนให้ความยินยอม ในมุมขององค์กรเองนั้นที่มีการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ก็ทำการประกาศความเป็นส่วนตัวเป็นเอกสารรับรองกิจกรรมการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลสะกรับขององค์กรเอง เอกสารนี้ช่วยให้องค์กรมีเหตุผลในการดำเนินการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ได้อย่างถูกต้องและลดความเสี่ยงในการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่น

ข้อมูลอ้างอิงจาก

Data Subject Right

PDPA

สามารถอ่านบทความอื่นๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับกฎหมาย PDPA และสายงาน HR    คลิ๊ก!!!

การขอความยินยอมจากผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถและคนเสมือนไร้ความสามารถ

ผู้เยาว์

          ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใด ๆ ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน  การใด ๆ ที่ผู้เยาว์ได้ทำลงปราศจากความยินยอมเช่นว่านั้นเป็นโมฆียะ  เว้นแต่จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น  ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใดๆ ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน ผู้แทนโดยชอบธรรม  หมายถึง  ผู้ซึ่งอาจให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ได้  เช่น  บิดามารดาซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร หรือบุคคลอื่นซึ่งถูกตั้งขึ้นมาเพื่อปกครองผู้เยาว์การใด (นิติกรรม) ที่ผู้เยาว์กระทำลงไปโดยลำพังไม่ได้ขอความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม  การนั้นจะเป็นโมฆียะ คำว่า“โมฆียะ” หมายความว่า ไม่บริบูรณ์ อาจให้สัตยาบันหรืออาจบอกล้างได้  กล่าวคือสมบูรณ์อยู่จนกว่าจะถูกบอกล้าง

  • ถ้าไม่ใช่การใด ๆ ซึ่งผู้เยาว์อาจให้ความยินยอมโดยลำพัง ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ใช้อำนาจปกครองด้วย
  • ผู้เยาว์มีอายุไม่เกินสิบปี ให้ขอความยินยอมจากผู้ใช้อำนาจปกครองที่มีอำนาจกระทำการแทนผู้เยาว์

คนไร้ความสามารถ

          คนไร้ความสามารถ ในตามกฎหมายนั้น หมายถึง บุคคลที่หย่อนทางความสามารถเพราะเป็นคนวิกลจริต โดยอาการวิกลจริตนี้ต้องเป็นถึงขนาดที่ไม่สามารถจัดกิจการงานของตนเองได้เลย และอาการดังกล่าวต้องเป็นอยู่เป็นประจำ เมื่อผู้มีสิทธิร้องขอตามกฎหมายยื่นคำร้องต่อศาล ศาลอาจสั่งให้บุคคลดังกล่าวเป็นคนไร้ความสามารถก็ได้ซึ่งจะเกิดผลในทางกฎหมายคือ คนไร้ความสามารถต้องอยู่ในความดูแลของบุคคลที่เรียกว่า “ผู้อนุบาล” และคนไร้ความสามารถไม่สามารถทำนิติกรรมต่างๆ ได้เอง การทำนิติกรรมของคนไร้ความสามารถต้องให้ผู้อนุบาลเป็นผู้ทำแทนเท่านั้น นิติกรรมใด ๆ ที่คนไร้ความสามารถได้ทำลงไป จะถือว่าเป็น “โมฆียะ”

          คนไร้ความสามารถตามกฎหมายถือว่าเป็นคนที่ไม่มีความรู้สึกผิดชอบ ไม่อาจทำกิจการตามที่ต้องการได้ไม่สามารถใช้ความคิด ความเข้าใจในความหมายและผลแห่งการกระทำของตนได้ดี ไม่สามารถแสดงเจตนาได้โดยถูกต้อง จึงจำเป็นที่กฎหมายจะต้องคุ้มครองประโยชน์ของบุคคลเหล่านี้ด้วยการควบคุมดูแลความสามารถในการใช้สิทธิและการปฏิบัติหน้าที่ของตน โดยหลักเกณฑ์ที่ต้องมีผู้มาร้องขอต่อศาลให้ไต่สวนและมีคำสั่ง เมื่อศาลมีคำสั่งให้บุคคลใดเป็นคนไร้ความสามารถแล้ว ก็จะจัดให้อยู่ในความคุ้มครองดูแลของบุคคลอีกคนหนึ่งที่เรียกว่า “ผู้อนุบาล”

กฎหมายตามมาตรา 28 นี้ ได้แยกองค์ประกอบของการเป็นคนไร้ความสามารถไว้ 2 ประเภทคือ

  • เป็นคนวิกลจริต
  • ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ

          คำว่า “บุคคลวิกลจริต” ตามความหมายของมาตรา 28 นี้ นอกจากหมายความถึงบุคคลที่มีจิตไม่ปกติหรือสมองพิการ อย่างที่เรียกกันว่า คนบ้า” มีอาการควบคุมสติตนเองไม่ได้ และไม่มีความรู้สึกผิดชอบอย่างบุคคลธรรมดาแล้ว ยังหมายความรวมถึงบุคคลที่มีกิริยาอาการผิดปกติธรรมดา เพราะสติวิปลาสเนื่องจากเจ็บป่วยถึงขนาดที่ไม่มีความรู้สึกผิดชอบและไม่สามารถประกอบกิจการงานใด ๆ ได้ด้วยเช่น มีอาการเจ็บป่วยเป็นอัมพาต ไม่สามารถที่จะจัดกิจการต่าง ๆ ของตนได้ตามปกติก็จัดเป็นบุคคลวิกลจริตเช่นเดียวกัน

อาการวิกลจริตที่จะเป็นเหตุให้ศาลสั่งบุคคลเป็นคนไร้ความสามารถนั้นจะต้องมีลักษณะ 2 ประเภทประกอบกัน คือ

  • ต้องเป็นอย่างมาก คือ ไม่สามารถรู้ว่าอะไรถูกอะไรผิด ไม่มีความรู้สึกรับผิดชอบแต่อย่างใด ซึ่งอาการเหล่านี้อาจเกิดจากอาการทางจิตหรือทางสมองหรือโรคภัยต่างๆ ก็ได้ ส่วนอาการผิดปกติของจิตใจในขนาดที่น้อยลงมา เช่น มีสติฟั่นเฟือน หลง ๆ ลืม ๆ จ าเหตุการณ์อะไรไม่ค่อยได้ดังเช่นคนชรา หรือคนปัญญาอ่อน เป็นต้น
  • ต้องเป็นอยู่เป็นประจำ คือ เป็นเรื่องประจำตัวของผู้นั้น ไม่ได้หมายความว่าต้องมีอาการวิกลจริตอยู่ตลอดเวลา ในบางครั้งอาจมีอาการปกติสลับกับจริตวิกลเป็นบางช่วงบางขณะก็เป็นปกติธรรมดา บางขณะก็เป็นบ้าหมดสติควบคุมตนเองไม่ได้ ไม่ว่าระยะเวลาจะสั้นยาว

ผู้มีสิทธิร้องขอต่อศาลให้ศาลมีคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ ได้แก่

  1. สามีหรือภริยาของคนเสมือนไร้ความสามารถ
  2. ผู้บุพการี หมายถึง บิดามารดา ปู่ย่า ตายาย ทวด และรวมถึงบิดามารดาบุญธรรมตามกฎหมาย
  3. ผู้สืบสันดาน หมายถึง ญาติสืบสายโลหิตโดยตรงลงมา เป็นผู้สืบสันดานตามความเป็นจริง ได้แก่ลูก หลาน เหลน ลื่อ
  4. ผู้ปกครอง
  5. ผู้พิทักษ์
  6. ผู้ซึ่งปกครองดูแลผู้เยาว์
  7. พนักงานอัยการ

คนเสมือนไร้ความสามารถ

          คนเสมือนไร้ความสามารถ หมายถึง บุคคลที่กายพิการหรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือประพฤติสุรุ่ยสุร่ายเป็นอาจิณ หรือติดสุรายาเมา หรือมีเหตุอื่นทำนองเดียวกันนั้น จนไม่สามารถที่จะจัดกิจการงานของตนเองได้ หรืออาจจัดกิจการงานของตนเองไปในทางที่เสื่อมเสียต่อทรัพย์สินของตนเองหรือครอบครัวเมื่อผู้มีสิทธิร้องขอตามกฎหมายยื่นคำร้องต่อศาล ศาลอาจสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ ซึ่งจะเกิดผลในทางกฎหมายคือ คนเสมือนไร้ความสามารถต้องอยู่ในความดูแลของ

“ผู้พิทักษ์” และการทำนิติกรรมบางชนิดต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ก่อนจึงจะท าได้ หากท านิติกรรมลงไปโดยไม่ได้รับความยินยอม นิติกรรมนั้นเป็น “โมฆียะ”

หลักเกณฑ์แห่งการเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ ปรากฏอยู่ในมาตรา 32 อาจแยกหลักเกณฑ์การเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ ได้เป็น 3 ประการ คือ

  1. มีเหตุบกพร่อง
  2. เพราะเหตุบกพร่องดังกล่าวทำให้ไม่สามารถจัดการงานของตนได้ หรือจัดการไปในทางที่เสื่อมเสียแก่ทรัพย์สินของตนหรือครอบครัว
  3. มีคำสั่งศาลให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถเหตุบกพร่องที่อาจทำให้บุคคลถูกศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ มี ๕ ประการ คือ
    • กายพิการ หมายถึง ร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งพิการหรือไม่สมประกอบ หรือเป็นอัมพาตเคลื่อนไหวตัวไม่ได้ เหตุที่ทำให้กายพิการนี้ อาจมีมาแต่กำเนิด หรือเกิดขึ้นภายหลัง เพราะป่วยเจ็บ ชราภาพหรืออุบัติเหตุก็ได
    • จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ คือ ผู้ที่มีจิตไม่ปกติ เพราะโรคจิตหรือสมองพิการแต่ไม่ถึงกับวิกลจริตกล่าวคือ เป็นบุคคลที่ยังมีความรู้สึกผิดชอบอยู่บ้าง ไม่ใช่ไร้สติเสียเลยทีเดียว แต่ความรู้สึกผิดชอบอาจเลอะเลือนไปบางครั้งบางคราว
    • ประพฤติสุรุ่ยสุร่ายเสเพลเป็นอาจิณ หมายถึง บุคคลที่มีนิสัยใช้จ่ายเงินทองอย่างไม่จ าเป็นและไร้ประโยชน์เข้าลักษณะฟุ่มเฟือยโดยไม่มีเหตุผลสมควร และมีรายจ่ายเกินกว่ารายได้อยู่ประจำ ลักษณะการใช้จ่ายเงินทองของผู้ประพฤติสุรุ่ยสุร่ายเสเพลเป็นอาจิณมี 3 ประการคือ
      • ใช้จ่ายเกินกว่ารายได้
      • การใช้จ่ายเกินรายได้ นี้เป็นการใช้จ่ายอย่างไร้ประโยชน์และปราศจากเหตุผลในแง่เศรษฐกิจ
      • การใช้จ่ายอย่างไร้ประโยชน์ นี้ต้องเป็นการกระทำที่ปฏิบัติเป็นประจำจนเป็นอาจิณหรือจนเป็นปกติ
    • ติดสุรายาเมา หมายถึง การติดสิ่งเสพติดด้วยสิ่งมึนเมาชนิดใดก็ได้ เช่น ติดยาบ้า ติดกัญชาติดเฮโรอีน ติดสุรา ยาดองเหล้า หรือของมึนเมาอย่างอื่นทำนองเดียวกัน แต่ข้อสำคัญคือต้องเป็นการติดแบบเป็นประจำขาดไม่ได้
    • เหตุอื่นทำนองเดียวกัน จะต้องเป็นเหตุที่ถึงขนาดทำให้บุคคลนั้นไม่สามารถจัดกิจการงานของตนเองได้

การยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถผู้มีสิทธิร้องขอต่อศาล

  1. สามีหรือภริยาของคนเสมือนไร้ความสามารถ
  2. ผู้บุพการี หมายถึง บิดามารดา ปู่ย่า ตายาย ทวด และรวมถึงบิดามารดาบุญธรรมตามกฎหมาย
  3. ผู้สืบสันดาน หมายถึง ญาติสืบสายโลหิตโดยตรงลงมา เป็นผู้สืบสันดานตามความเป็นจริง ได้แก่ลูก หลาน เหลน ลื่อ
  4. ผู้ปกครอง
  5. ผู้พิทักษ์
  6. ผู้ซึ่งปกครองดูแลผู้เยาว์
  7. พนักงานอัยการ

ความสิ้นสุดของการเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ

ความสิ้นสุดแห่งการเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถตามบทบัญญัติดังกล่าวอาจแยกออกได้เป็น 3 กรณี คือ

  1. สิ้นสุดลงโดยการตายของคนเสมือนไร้ความสามารถ
  2. สิ้นสุดลงเพราะเปลี่ยนฐานะคนเสมือนไร้ความสามารถได้กลายเป็นคนไร้ความสามารถ
  3. สิ้นสุดลงเพราะเหตุบกพร่อง ตามมาตรา 34 หมดสิ้นไป เข่น ประพฤติตนเป็นคนดีไม่สุรุ่ยสุร่าย หรือเลิกเสพสุรายาเมา หรือหายจากอาการจิตฟั่นเฟือนแล้ว และศาลมีคำสั่งเพิกถอนให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถแล้ว

          การขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้ไม่มีผลผูกพันเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล และไม่ทำให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลสามารถทำการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้จะถือได้ว่าเป็นกระทำที่ล่วงละเมิดตามสิทธิของเจ้าของข้อมูล ดังนั้นไม่จะถือว่าผิดต่อวัตถุประสงค์ตามที่กฎหมายได้มีการกำหนดไว้

สามารถอ่านบทความอื่นๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับกฎหมาย PDPA และสายงาน HR    คลิ๊ก!!!

ข้อมูลอะไรบ้าง? ที่เป็นข้อมูลชีวภาพ

          สำหรับ “ข้อมูลส่วนบุคคล” ตามกฎหมาย PDPA นั้น ถือว่าเป็นข้อมูลส่วนบุคคลไม่ว่าจะทั้งทางตรงหรือทางอ้อมที่เป็นข้อมูลเบื้องต้น ซึ่งได้แก่ ชื่อ นามสกุล หมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่ อีเมล หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน รูปถ่าย ประวัติการทำงาน และอายุ เป็นต้น และในปัจจุบันแล้วนั้นได้มีหลาย ๆ ประเทศทั่วทั้งโลกไม่ว่าจะเป็นทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน หรือแม้แต่กระทั้งสถาบันการศึกษาก็ได้มีการนำเอาเทคโนโลยีที่ใช้ในการจดจำใบหน้าเข้ามาใช้งานในรูปแบบด้านต่าง ๆ อาทิเช่น ส่วนภาครัฐได้นำเอาเทคโนโลยีในการจดจำใบหน้าไปใช้ประโยชน์ในด้านความมั่นคงเพื่อเป็นส่วนในการรักษษความปลอดภัยต่าง ๆ หรือ เพื่อประโยชน์ในด้านของการอำนวยความสะดวกให้แก่บุคคลภายในประเทศ โดยเฉพาะในงานด้านรักษาความปลอดภัย รวมทั้งในภาคส่วนของสถาบันการศึกษาเองนั้นก็ได้มีการนำมาใช้เพื่อยืนยันการเข้าเรียนของนักเรียน เป็นต้น

          แต่นอกจากนี้ยังมีข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นข้อมูลละเอียดอ่อน หรือที่เรียกกันว่า Sensitive Data ได้แก่ เชื้อชาติ ชาติพันธุ์ ความคิดเห็นทางการเมือง ความเชื่อทางศาสนา หรือ ปรัชญา เช่น บันทึกการลาบวชของพนักงานในองค์กรเอง พฤติกรรมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม สุขภาพ ความพิการ พันธุกรรมชีวภาพ หรือตัวที่เป็นข้อมูลสุขภาพ อาทิ ใบรับรองแพทย์ หรือข้อมูลอื่นใดที่มีผลกระทบต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในทำนองเดียวกัน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีข้อมูลส่วนบุคคลอีกประเภทหนึ่งที่ตัวกฎหมาย PDPA ฉบับนี้ได้มีการคุ้มครองและให้ความสำคัญเป็นพิเศษอีกด้วย นั่นก็คือข้อมูลที่เรียกว่า ข้อมูลชีวภาพ ซึ่งตามกฎหมาย PDPA มาตรา 26 วรรคสอง ระบุไว้ว่า

ข้อมูลชีวภาพคืออะไร ?

          นั้นเป็นข้อมูลส่วนบุคคลอีกประเภทหนึ่งซึ่งเกิดจากการใช้เทคนิคหรือเทคโนโลยีที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการนำ “ลักษณะทางด้านกายภาพต่าง ๆ หรือ ลักษณะทางพฤติกรรม” ของบุคคลมาใช้ ที่จะทำให้สามารถยืนยันตัวตนของบุคคลนั้นที่ไม่เหมือนกับบุคคลอื่นได้แล้วมีข้อมูลอะไรบ้างที่เข้าข่ายว่าเป็น “ข้อมูลชีวภาพ” บ้าง ข้อมูลทางชีวภาพตามคำนิยามความหมายของกฎหมาย PDPA หรือที่เรียกอีกอย่างว่า พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ของไทยฉบับนี้ ได้มีการจำแนกข้อมูลชีวภาพนั้นออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน ยกตัวอย่าง ดังนี้

ทางกายภาพ

  • ข้อมูลภาพจำลอง
  • ข้อมูลจำลองม่านตา
  • ข้อมูลจำลองลายนิ้วมือ
  • การจดจำเสียง

ทางพฤติกรรม

  • การวิเคราะห์ลายมือชื่อ
  • การวิเคราะห์การเดิน
  • การวิเคราะห์การกดแป้นพิมพ์อุปกรณ์คอมพิวเตอร์

สามารถอ่านบทความอื่นๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับกฎหมาย PDPA และสายงาน HR    คลิ๊ก!!!