Skip to content

Table of Contents

          สำหรับ “ข้อมูลส่วนบุคคล” ตามกฎหมาย PDPA นั้น ถือว่าเป็นข้อมูลส่วนบุคคลไม่ว่าจะทั้งทางตรงหรือทางอ้อมที่เป็นข้อมูลเบื้องต้น ซึ่งได้แก่ ชื่อ นามสกุล หมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่ อีเมล หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน รูปถ่าย ประวัติการทำงาน และอายุ เป็นต้น และในปัจจุบันแล้วนั้นได้มีหลาย ๆ ประเทศทั่วทั้งโลกไม่ว่าจะเป็นทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน หรือแม้แต่กระทั้งสถาบันการศึกษาก็ได้มีการนำเอาเทคโนโลยีที่ใช้ในการจดจำใบหน้าเข้ามาใช้งานในรูปแบบด้านต่าง ๆ อาทิเช่น ส่วนภาครัฐได้นำเอาเทคโนโลยีในการจดจำใบหน้าไปใช้ประโยชน์ในด้านความมั่นคงเพื่อเป็นส่วนในการรักษษความปลอดภัยต่าง ๆ หรือ เพื่อประโยชน์ในด้านของการอำนวยความสะดวกให้แก่บุคคลภายในประเทศ โดยเฉพาะในงานด้านรักษาความปลอดภัย รวมทั้งในภาคส่วนของสถาบันการศึกษาเองนั้นก็ได้มีการนำมาใช้เพื่อยืนยันการเข้าเรียนของนักเรียน เป็นต้น

          แต่นอกจากนี้ยังมีข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นข้อมูลละเอียดอ่อน หรือที่เรียกกันว่า Sensitive Data ได้แก่ เชื้อชาติ ชาติพันธุ์ ความคิดเห็นทางการเมือง ความเชื่อทางศาสนา หรือ ปรัชญา เช่น บันทึกการลาบวชของพนักงานในองค์กรเอง พฤติกรรมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม สุขภาพ ความพิการ พันธุกรรมชีวภาพ หรือตัวที่เป็นข้อมูลสุขภาพ อาทิ ใบรับรองแพทย์ หรือข้อมูลอื่นใดที่มีผลกระทบต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในทำนองเดียวกัน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีข้อมูลส่วนบุคคลอีกประเภทหนึ่งที่ตัวกฎหมาย PDPA ฉบับนี้ได้มีการคุ้มครองและให้ความสำคัญเป็นพิเศษอีกด้วย นั่นก็คือข้อมูลที่เรียกว่า ข้อมูลชีวภาพ ซึ่งตามกฎหมาย PDPA มาตรา 26 วรรคสอง ระบุไว้ว่า

ข้อมูลชีวภาพคืออะไร ?

          นั้นเป็นข้อมูลส่วนบุคคลอีกประเภทหนึ่งซึ่งเกิดจากการใช้เทคนิคหรือเทคโนโลยีที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการนำ “ลักษณะทางด้านกายภาพต่าง ๆ หรือ ลักษณะทางพฤติกรรม” ของบุคคลมาใช้ ที่จะทำให้สามารถยืนยันตัวตนของบุคคลนั้นที่ไม่เหมือนกับบุคคลอื่นได้แล้วมีข้อมูลอะไรบ้างที่เข้าข่ายว่าเป็น “ข้อมูลชีวภาพ” บ้าง ข้อมูลทางชีวภาพตามคำนิยามความหมายของกฎหมาย PDPA หรือที่เรียกอีกอย่างว่า พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ของไทยฉบับนี้ ได้มีการจำแนกข้อมูลชีวภาพนั้นออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน ยกตัวอย่าง ดังนี้

ทางกายภาพ

  • ข้อมูลภาพจำลอง
  • ข้อมูลจำลองม่านตา
  • ข้อมูลจำลองลายนิ้วมือ
  • การจดจำเสียง

ทางพฤติกรรม

  • การวิเคราะห์ลายมือชื่อ
  • การวิเคราะห์การเดิน
  • การวิเคราะห์การกดแป้นพิมพ์อุปกรณ์คอมพิวเตอร์

สามารถอ่านบทความอื่นๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับกฎหมาย PDPA และสายงาน HR    คลิ๊ก!!!

แบ่งปันบทความดีๆ

Facebook
Twitter
LinkedIn

บทความที่เกี่ยวข้อง