
ผู้เยาว์
ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใด ๆ ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน การใด ๆ ที่ผู้เยาว์ได้ทำลงปราศจากความยินยอมเช่นว่านั้นเป็นโมฆียะ เว้นแต่จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใดๆ ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน ผู้แทนโดยชอบธรรม หมายถึง ผู้ซึ่งอาจให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ได้ เช่น บิดามารดาซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร หรือบุคคลอื่นซึ่งถูกตั้งขึ้นมาเพื่อปกครองผู้เยาว์การใด (นิติกรรม) ที่ผู้เยาว์กระทำลงไปโดยลำพังไม่ได้ขอความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม การนั้นจะเป็นโมฆียะ คำว่า“โมฆียะ” หมายความว่า ไม่บริบูรณ์ อาจให้สัตยาบันหรืออาจบอกล้างได้ กล่าวคือสมบูรณ์อยู่จนกว่าจะถูกบอกล้าง
- ถ้าไม่ใช่การใด ๆ ซึ่งผู้เยาว์อาจให้ความยินยอมโดยลำพัง ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ใช้อำนาจปกครองด้วย
- ผู้เยาว์มีอายุไม่เกินสิบปี ให้ขอความยินยอมจากผู้ใช้อำนาจปกครองที่มีอำนาจกระทำการแทนผู้เยาว์
คนไร้ความสามารถ
คนไร้ความสามารถ ในตามกฎหมายนั้น หมายถึง บุคคลที่หย่อนทางความสามารถเพราะเป็นคนวิกลจริต โดยอาการวิกลจริตนี้ต้องเป็นถึงขนาดที่ไม่สามารถจัดกิจการงานของตนเองได้เลย และอาการดังกล่าวต้องเป็นอยู่เป็นประจำ เมื่อผู้มีสิทธิร้องขอตามกฎหมายยื่นคำร้องต่อศาล ศาลอาจสั่งให้บุคคลดังกล่าวเป็นคนไร้ความสามารถก็ได้ซึ่งจะเกิดผลในทางกฎหมายคือ คนไร้ความสามารถต้องอยู่ในความดูแลของบุคคลที่เรียกว่า “ผู้อนุบาล” และคนไร้ความสามารถไม่สามารถทำนิติกรรมต่างๆ ได้เอง การทำนิติกรรมของคนไร้ความสามารถต้องให้ผู้อนุบาลเป็นผู้ทำแทนเท่านั้น นิติกรรมใด ๆ ที่คนไร้ความสามารถได้ทำลงไป จะถือว่าเป็น “โมฆียะ”
คนไร้ความสามารถตามกฎหมายถือว่าเป็นคนที่ไม่มีความรู้สึกผิดชอบ ไม่อาจทำกิจการตามที่ต้องการได้ไม่สามารถใช้ความคิด ความเข้าใจในความหมายและผลแห่งการกระทำของตนได้ดี ไม่สามารถแสดงเจตนาได้โดยถูกต้อง จึงจำเป็นที่กฎหมายจะต้องคุ้มครองประโยชน์ของบุคคลเหล่านี้ด้วยการควบคุมดูแลความสามารถในการใช้สิทธิและการปฏิบัติหน้าที่ของตน โดยหลักเกณฑ์ที่ต้องมีผู้มาร้องขอต่อศาลให้ไต่สวนและมีคำสั่ง เมื่อศาลมีคำสั่งให้บุคคลใดเป็นคนไร้ความสามารถแล้ว ก็จะจัดให้อยู่ในความคุ้มครองดูแลของบุคคลอีกคนหนึ่งที่เรียกว่า “ผู้อนุบาล”
กฎหมายตามมาตรา 28 นี้ ได้แยกองค์ประกอบของการเป็นคนไร้ความสามารถไว้ 2 ประเภทคือ
- เป็นคนวิกลจริต
- ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
คำว่า “บุคคลวิกลจริต” ตามความหมายของมาตรา 28 นี้ นอกจากหมายความถึงบุคคลที่มีจิตไม่ปกติหรือสมองพิการ อย่างที่เรียกกันว่า “คนบ้า” มีอาการควบคุมสติตนเองไม่ได้ และไม่มีความรู้สึกผิดชอบอย่างบุคคลธรรมดาแล้ว ยังหมายความรวมถึงบุคคลที่มีกิริยาอาการผิดปกติธรรมดา เพราะสติวิปลาสเนื่องจากเจ็บป่วยถึงขนาดที่ไม่มีความรู้สึกผิดชอบและไม่สามารถประกอบกิจการงานใด ๆ ได้ด้วยเช่น มีอาการเจ็บป่วยเป็นอัมพาต ไม่สามารถที่จะจัดกิจการต่าง ๆ ของตนได้ตามปกติก็จัดเป็นบุคคลวิกลจริตเช่นเดียวกัน
อาการวิกลจริตที่จะเป็นเหตุให้ศาลสั่งบุคคลเป็นคนไร้ความสามารถนั้นจะต้องมีลักษณะ 2 ประเภทประกอบกัน คือ
- ต้องเป็นอย่างมาก คือ ไม่สามารถรู้ว่าอะไรถูกอะไรผิด ไม่มีความรู้สึกรับผิดชอบแต่อย่างใด ซึ่งอาการเหล่านี้อาจเกิดจากอาการทางจิตหรือทางสมองหรือโรคภัยต่างๆ ก็ได้ ส่วนอาการผิดปกติของจิตใจในขนาดที่น้อยลงมา เช่น มีสติฟั่นเฟือน หลง ๆ ลืม ๆ จ าเหตุการณ์อะไรไม่ค่อยได้ดังเช่นคนชรา หรือคนปัญญาอ่อน เป็นต้น
- ต้องเป็นอยู่เป็นประจำ คือ เป็นเรื่องประจำตัวของผู้นั้น ไม่ได้หมายความว่าต้องมีอาการวิกลจริตอยู่ตลอดเวลา ในบางครั้งอาจมีอาการปกติสลับกับจริตวิกลเป็นบางช่วงบางขณะก็เป็นปกติธรรมดา บางขณะก็เป็นบ้าหมดสติควบคุมตนเองไม่ได้ ไม่ว่าระยะเวลาจะสั้นยาว
ผู้มีสิทธิร้องขอต่อศาลให้ศาลมีคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ ได้แก่
- สามีหรือภริยาของคนเสมือนไร้ความสามารถ
- ผู้บุพการี หมายถึง บิดามารดา ปู่ย่า ตายาย ทวด และรวมถึงบิดามารดาบุญธรรมตามกฎหมาย
- ผู้สืบสันดาน หมายถึง ญาติสืบสายโลหิตโดยตรงลงมา เป็นผู้สืบสันดานตามความเป็นจริง ได้แก่ลูก หลาน เหลน ลื่อ
- ผู้ปกครอง
- ผู้พิทักษ์
- ผู้ซึ่งปกครองดูแลผู้เยาว์
- พนักงานอัยการ
คนเสมือนไร้ความสามารถ
คนเสมือนไร้ความสามารถ หมายถึง บุคคลที่กายพิการหรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือประพฤติสุรุ่ยสุร่ายเป็นอาจิณ หรือติดสุรายาเมา หรือมีเหตุอื่นทำนองเดียวกันนั้น จนไม่สามารถที่จะจัดกิจการงานของตนเองได้ หรืออาจจัดกิจการงานของตนเองไปในทางที่เสื่อมเสียต่อทรัพย์สินของตนเองหรือครอบครัวเมื่อผู้มีสิทธิร้องขอตามกฎหมายยื่นคำร้องต่อศาล ศาลอาจสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ ซึ่งจะเกิดผลในทางกฎหมายคือ คนเสมือนไร้ความสามารถต้องอยู่ในความดูแลของ
“ผู้พิทักษ์” และการทำนิติกรรมบางชนิดต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ก่อนจึงจะท าได้ หากท านิติกรรมลงไปโดยไม่ได้รับความยินยอม นิติกรรมนั้นเป็น “โมฆียะ”
หลักเกณฑ์แห่งการเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ ปรากฏอยู่ในมาตรา 32 อาจแยกหลักเกณฑ์การเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ ได้เป็น 3 ประการ คือ
- มีเหตุบกพร่อง
- เพราะเหตุบกพร่องดังกล่าวทำให้ไม่สามารถจัดการงานของตนได้ หรือจัดการไปในทางที่เสื่อมเสียแก่ทรัพย์สินของตนหรือครอบครัว
- มีคำสั่งศาลให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถเหตุบกพร่องที่อาจทำให้บุคคลถูกศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ มี ๕ ประการ คือ
- กายพิการ หมายถึง ร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งพิการหรือไม่สมประกอบ หรือเป็นอัมพาตเคลื่อนไหวตัวไม่ได้ เหตุที่ทำให้กายพิการนี้ อาจมีมาแต่กำเนิด หรือเกิดขึ้นภายหลัง เพราะป่วยเจ็บ ชราภาพหรืออุบัติเหตุก็ได
- จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ คือ ผู้ที่มีจิตไม่ปกติ เพราะโรคจิตหรือสมองพิการแต่ไม่ถึงกับวิกลจริตกล่าวคือ เป็นบุคคลที่ยังมีความรู้สึกผิดชอบอยู่บ้าง ไม่ใช่ไร้สติเสียเลยทีเดียว แต่ความรู้สึกผิดชอบอาจเลอะเลือนไปบางครั้งบางคราว
- ประพฤติสุรุ่ยสุร่ายเสเพลเป็นอาจิณ หมายถึง บุคคลที่มีนิสัยใช้จ่ายเงินทองอย่างไม่จ าเป็นและไร้ประโยชน์เข้าลักษณะฟุ่มเฟือยโดยไม่มีเหตุผลสมควร และมีรายจ่ายเกินกว่ารายได้อยู่ประจำ ลักษณะการใช้จ่ายเงินทองของผู้ประพฤติสุรุ่ยสุร่ายเสเพลเป็นอาจิณมี 3 ประการคือ
- ใช้จ่ายเกินกว่ารายได้
- การใช้จ่ายเกินรายได้ นี้เป็นการใช้จ่ายอย่างไร้ประโยชน์และปราศจากเหตุผลในแง่เศรษฐกิจ
- การใช้จ่ายอย่างไร้ประโยชน์ นี้ต้องเป็นการกระทำที่ปฏิบัติเป็นประจำจนเป็นอาจิณหรือจนเป็นปกติ
- ติดสุรายาเมา หมายถึง การติดสิ่งเสพติดด้วยสิ่งมึนเมาชนิดใดก็ได้ เช่น ติดยาบ้า ติดกัญชาติดเฮโรอีน ติดสุรา ยาดองเหล้า หรือของมึนเมาอย่างอื่นทำนองเดียวกัน แต่ข้อสำคัญคือต้องเป็นการติดแบบเป็นประจำขาดไม่ได้
- เหตุอื่นทำนองเดียวกัน จะต้องเป็นเหตุที่ถึงขนาดทำให้บุคคลนั้นไม่สามารถจัดกิจการงานของตนเองได้
การยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถผู้มีสิทธิร้องขอต่อศาล
- สามีหรือภริยาของคนเสมือนไร้ความสามารถ
- ผู้บุพการี หมายถึง บิดามารดา ปู่ย่า ตายาย ทวด และรวมถึงบิดามารดาบุญธรรมตามกฎหมาย
- ผู้สืบสันดาน หมายถึง ญาติสืบสายโลหิตโดยตรงลงมา เป็นผู้สืบสันดานตามความเป็นจริง ได้แก่ลูก หลาน เหลน ลื่อ
- ผู้ปกครอง
- ผู้พิทักษ์
- ผู้ซึ่งปกครองดูแลผู้เยาว์
- พนักงานอัยการ
ความสิ้นสุดของการเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ
ความสิ้นสุดแห่งการเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถตามบทบัญญัติดังกล่าวอาจแยกออกได้เป็น 3 กรณี คือ
- สิ้นสุดลงโดยการตายของคนเสมือนไร้ความสามารถ
- สิ้นสุดลงเพราะเปลี่ยนฐานะคนเสมือนไร้ความสามารถได้กลายเป็นคนไร้ความสามารถ
- สิ้นสุดลงเพราะเหตุบกพร่อง ตามมาตรา 34 หมดสิ้นไป เข่น ประพฤติตนเป็นคนดีไม่สุรุ่ยสุร่าย หรือเลิกเสพสุรายาเมา หรือหายจากอาการจิตฟั่นเฟือนแล้ว และศาลมีคำสั่งเพิกถอนให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถแล้ว
การขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้ไม่มีผลผูกพันเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล และไม่ทำให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลสามารถทำการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้จะถือได้ว่าเป็นกระทำที่ล่วงละเมิดตามสิทธิของเจ้าของข้อมูล ดังนั้นไม่จะถือว่าผิดต่อวัตถุประสงค์ตามที่กฎหมายได้มีการกำหนดไว้
สามารถอ่านบทความอื่นๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับกฎหมาย PDPA และสายงาน HR คลิ๊ก!!!