Skip to content

Table of Contents

ต้นทุนการจ้างงานคืออะไร ?

ต้นทุนการจ้างงานคืออะไร หลายคนอาจสงสัยว่า ต้นทุนการจ้างงานนั้นคิดอย่างไร แล้วมีความสำคัญมากน้อยแค่ไหน โดยปกติแล้วต้นทุนการจ้างงานของพนักงานแต่ละคนนั้น ก็จะถูกแบ่งออกเป็นต้นทุนทางตรงและต้นทุนทางอ้อม เหมือนกับต้นทุนในการบริหารองค์กร

แต่โดยทั่วไปแล้วองค์กรจะมองเห็นแค่เงินเดือนและสวัสดิการของพนักงานเท่านั้นเพราะว่าไม่มีการแยกรายละเอียดค่าใช้จ่ายที่เกิดขี้นจริงตั้งแต่กระบวนการสรรหาจนถึงกระบวนการรับเข้าเป็นพนักงานประจำ หลายองค์กรมองว่าการคิดแค่เงินเดือนและสวัสดิการนั่นง่ายต่อการคำนวณคิดต้นทุนการจ้างงาน  และในหลายๆ องค์กรจะมองผลงานของพนักงานที่สามารถวัดได้จริงๆ เท่านั้นซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นหน่วยงานในสายงานหลักขององค์กรเช่น ฝ่ายขาย ฝ่ายการตลาดฝ่ายผลิต ฯลฯหน่วยงานเหล่านี้สามารถที่จะเก็บตัวเลขผลงานของพนักงานแต่ละคนออกมาได้จริงๆ อย่างชัดเจนแต่ในส่วนงานของฝ่ายสนับสนุนเช่น แผนกบัญชี ฝ่ายบุคคล ในส่วนนี้จะวัดต้นทุนกันได้ยากเนื่องจากว่าไม่มีตัวเลขมาวัดได้อย่างชัดเจนเหมือนกับฝ่ายอื่นทำให้หลายองค์กรไม่ได้คิดต้นทุนในส่วนนี้กัน และส่วนมากจะใช้ประเมินเป็นการประเมินศักยภาพในการทำงานของแต่ละบุคคลเสียมากกว่า แต่หลักการประเมินก็อาจจะใช้ไม่ได้ผลดีนัก องค์กรควรมีหลักการคำนวณต้นทุนที่ตรงไปตรงมาและตรงกับบริบทในการทำงานขององค์กร ตรงกับประเภทของธุรกิจการทำงานขององค์กร แต่ก็อย่าลืมนะคะว่าคน มีความแตกต่างกับเครื่องจักร เราจะมาวัดต้นทุนกันโดยวิธีการคำนวณสูตรอย่างเดียว แบบนี้ก็ไม่ค่อยถูกต้องนักเนื่องจากเครื่องจักรเรายังสามารถคิดต้นทุนได้ชัดเจน แต่สิ่งที่ต่างก็คือ เครื่องจักรนับวันจะเสื่อมค่าลง ( คิดค่าเสื่อมราคาได้ ) แต่ทรัพยากรคนนั้น ถ้าเราลงทุกพัฒนาเขาได้อย่างตรงจุด ถูกทาง เขาจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรและตัวเค้าเองได้อย่างแน่นอนอีกทั้งองค์กรก็ไม่มีการคิดค่าเสื่อมราคาของพนักงาน เพราะเชื่อว่า คนพัฒนาได้ การที่คนอยู่ทำงานกับองค์กรไปนานๆ  มูลค่าเพิ่มของคนๆ นั้นจะเพิ่มขึ้นไปด้วย ซึ่งมูลค่าเพิ่มตรงนี้เองที่เป็นสิ่งที่ทำให้ทรัพยากรบุคคลแตกต่างกับทรัพยากรด้านอื่นๆ ซึ่งทรัพยากรด้านอื่นๆ นับวันจะมีแต่เสื่อมลง แต่ทรัพยากรคนนั้นกับเพิ่มศักยาภาพในการทำงานมากยิ่งขี้นตามกาลเวลาที่ได้ฝึกฝนเรียนรู้  และการพัฒนาทักษะนั่นเอง

ค่าแรงงาน

ค่าแรงงาน หมายถึง ค่าจ้างหรือผลตอบแทนที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างหรือคนงานที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้า โดยปกติแล้วค่าแรงงานจะถูกแบ่งออกเป็น ชนิด คือ ค่าแรงงานทางตรง (Direct labor) และค่าแรงงานทางอ้อม (Indirect labor)

 1) ค่าแรงงานทางตรง (Direct labor) เป็นค่าแรงงานที่จ่ายให้กับพนักงานที่ทำหน้าที่ในการผลิตโดยตรง บอกได้อย่างชัดเจนว่าเวลาแรงงานที่ใช้ไปเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผลิตภันณ์ใดได้อย่างชัดเจน เช่น พนักงานฝ่ายผลิต โดยส่วนใหญ่แล้วจำนวนค่าแรงงานทางตรงนี้จะมีลักษณะผันแปรไปตามจำนวนผลผลิตที่เกิดขึ้น

2) ค่าแรงงานทางอ้อม (Indirect labor) เป็นค่าแรงที่จ่ายให้กับพนักงานหรือลูกจ้างที่ทำหน้าที่ในลักษณะของการสนับสนุนการผลิต แต่ไม่ใช้ทำการผลิตสินค้า จึงไม่สามารถบอกได้ว่าก่อให้เกิดประโยชน์ทางตรงกับผลิตภัณฑ์ใด เช่น ค่าแรงงานพนักงานทำความสะอาด ค่าแรงงานพนักงานรักษาความปลอดภัย

” ดังนั้นในการคิดต้นทุนการจ้างงานนั้นจึงเป็นสิ่งที่องค์กรไม่ควรจะมองข้าม เพราะว่าจะทำให้องค์นั้นสามารถพัฒนาบุคคลกรขององค์กรได้อย่างตรงจุดมากยิ่งขึ้น และเพื่อให้เกิดการจ้างงานที่ตรงกับสายงานมากที่สุดนั่นเอง “

แบ่งปันบทความดีๆ

Facebook
Twitter
LinkedIn

บทความที่เกี่ยวข้อง

trustvision

ศักยภาพและสมรรถนะต่างกันอย่างไร?

ศักยภาพและสมรรถนะต่างกันอย่างไร?        ศักยภาพและสมรรถนะหลายๆคนคงคิดว่ามีความหมายเหมือนๆกัน แต่ความจริงแล้วทั้งสองอย่างนั้นมีความแตกต่างกันอยู่ แต่ก็ยังมีส่วนที่คล้ายกันที่สอดคล้องในการพัฒนาและผลักดันไปสู้เป้าหมาย ” ศักยภาพ ”

Read More »
trustvision

HR Skill ทักษะสำคัญในปี 2023 ที่ HR ควรรู้

รู้หรือไม่ว่า HR Skills ในปี 2023 มีอะไรบ้างที่ต้องปรับตัวให้ทัน ทักษะด้านทรัพยากรบุคคลในปัจจุบัน แต่สิ่งสำคัญคือต้องทราบว่าสายงานด้านทรัพยากรบุคคลมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และทักษะที่จำเป็นอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับองค์กรและอุตสาหกรรม ต่อไปนี้เป็นทักษะด้านทรัพยากรบุคคลที่คาดว่าจะเป็นที่ต้องการในปี

Read More »
trustvision

สัญญาณเตือนภาวะหมดไฟจากการทำงาน

          ภาวะหมดไฟจากการทำงาน หรือที่ชอบเรียกกันว่า BRUNOUT ไม่ใช่โรคร้ายแรงอะไร แต่เป็นในเรื่องของสภาพจิตใจที่กำลังเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นสภาวะสะสมที่เกิดจากความเครียดเรื้อรังจากการทำงาน

Read More »