Skip to content
วิธีแก้ปัญหาลดอัตราการ ลาออก ของพนักงาน

Table of Contents

        วิธีแก้ปัญหาลดอัตราการ ลาออก ของพนักงาน ในเรื่องของการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ย่อมต้องได้มาจากบุคลากรที่มีประสิทธิภาพที่ได้มาทำงานในองค์กร นอกจากการเลือกจากคุณสมบัติที่เลิศ เลือกบุคลากรที่สามารถทำงานได้ดีเยี่ยมแล้ว แต่การที่จะทำให้พวกเค้าเหล่านั้นมีความสุข สนุกกับงานที่ทำนั้น เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมให้คนทำงานอยากพัฒนาในเรื่องของงานให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป แต่แล้วทำไมพนักงานบางคนถึงคิดที่อยากจะลาออกจากงาน ? เมื่อมองถึงเหตุผลง่าย ๆ เลยก็คือ ในการทำงานก็คือการใช้เวลาเพื่อแลกมากับผลตอบแทนบางอย่างหรือในหลาย ๆ อย่าง เช่น  เงินเดือน สวัสดิการ ความรู้ ความท้าทาย หรือแม้แต่สังคมในการทำงาน หากเราทำแล้วรู้สึกไม่คุ้มค่ากับสิ่งที่ได้มา เราก็ไม่สามารถทำอะไรได้อีกเลย หรือมีอีกทางเลือกในการไปหาองค์กรอื่นที่สามารถให้เราได้เยอะมากกว่า

          ข้อเสียและวิธีแก้ปัญหาพนักงานลาออก เป็นปัญหาที่น่าปวดใจที่สุดของผู้บริหารและหัวหน้างานก็คือการที่พนักงานลาออก บางครั้งในหลายครั้งที่องค์กรมักจะมีการโทษพนักงานว่ามีความอดทนไม่เพียงพอ ไม่เหมาะกับงานที่ทำอยู่ แต่จริงๆแล้วการเหมารวมแบบนี้ก็ยิ่งทำให้ปัญหาแย่ลงไปอีกมาก ดังนั้น สรุปก็คือการลาออกส่งผลเสียต่อองค์กรในระดับหนึ่ง และการที่พนักงานทำงานกับองค์กรยาว ๆ ก็คือผลดีที่หลายองค์กรส่วนมากอยากได้ โดยเหตุผลหลัก ๆ ในการลาออกของพนักงานนั้นก็คือความพึงพอใจในงานเมื่อเกิดความไม่พอใจในการทำงานก็จะทำให้เกิดการลาออก ดังนั้น วันนี้ทางทีม TV จึงได้เขียนบทความเพื่อมาแชร์ถึง วิธีแก้ปัญหาลดอัตราการ ในการลาออกของพนักงาน ดังตัวอย่างเช่น

สิ่งที่ทำให้พนักงานคิดอยากจะ ( ลาออก )

เงินเดือนและสวัสดิการ

เรื่องเงินเดือนและสวัสดิการถือเป็นปัญหาเบื้องต้นหลัก ๆ ของสาเหตุที่หลายคนเลือกที่จะการลาออก เพราะพนักงานไม่สามารถทำงานได้อย่างมีความสุขได้หากตัวเองและครอบครัวยังได้รับผลตอบแทนไม่เพียงพอ เงินเดือนนั้นควรอยู่บนพื้นฐานของค่าเฉลี่ยของตลาดงานในตำแหน่งนั้น ๆ ถ้าต่ำเกินไปจะทำให้องค์กรอื่นมีแรงดึงดูดพนักงานมากกว่านั้นเอง การดูแลในด้านเงินทำให้ชีวิตของพนักงานดีขึ้นและต้องไม่มีความกังวลในการใช้ชีวิตจะช่วยยกระดับการทำงานได้อีกด้วยในส่วนขององค์กรที่มีขนาดใหญ่ก็สามารถให้สวัสดิการพนักงานได้เยอะเช่นกันเพื่อเป็นการประหยัดต่อขนาดแบบหนึ่ง เพื่อเป็นหนึ่งในวิธีที่ทำให้ไม่ต้องจ่ายเงินเดือนที่เยอะ แต่ยังทำให้พนักงานส่วนมากพึงพอใจในส่วนนี้ได้

โอกาสในการเติบโตในองค์กรน้อย

ในเรื่องของการทำงานแน่นอนว่าพนักงานทุกคนนั้นย่อมต้องการความมั่นคงและการเติบโตจากตำแหน่งและหน้าที่การงาน ดังนั้นแล้วแน่นอนว่าตัวบริษัทจำเป็นที่จะต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับพนักงานว่า บริษัทนั้นมีเป้าหมายชัดเจนในการพัฒนาธุรกิจให้เติบโตโดดเด่นเป็นที่รู้จักในวงการธุรกิจเดียวกัน และพัฒนาบุคลากรให้เติบโตไปพร้อม ๆ กัน เพราะนอกจากการที่องค์กรมีการมอบงานหรือหน้าที่ที่มีความท้าทายหรือเสี่ยงสูงสิ่งที่ควรเพิ่มตามหน้าที่ให้นั่นคือการเติบโตในตำแหน่งงานด้วยเพราะคงไม่มีใครอยากที่จะทนรับงานมากยิ่งขึ้นแต่ตำแหน่งเท่าเดิมและได้ผลตอบแทนเท่าเดิมได้หรอก

หัวหน้าและเพื่อนร่วมงา

ในที่ทำงานหัวหน้างาน เปรียบเสมือน ครู ที่ช่วยแนะนำ ที่คอยให้ความรู้ และบางครั้งก็เป็นเหมือนเพื่อนที่คอยรับฟังปัญหา คอยชี้แนะแนวทาง และอยู่เคียงข้างด้วยความเข้าใจแน่นอนว่าคนที่เป็นหัวหน้างานจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีคุณสมบัติพิเศษในการบริหารคน เปิดใจรับฟังลูกน้องทุกๆคนอย่างเท่าเทียมกัน มียุติธรรม มีความเป็นผู้นำที่ดี คอยให้การสนับสนุน และช่วยแก้ปัญหาให้กับลูกทีมอย่างเต็มใจ เพื่อที่จะให้เกิดการทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุข และเกิดความเคารพ ให้เกียรติ และจริงใจต่อกัน ในการทำงานร่วมกันเป็นทีมถือเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้ทีมนั้นประสบความสำเร็จ แต่ถ้าหากคนในทีมไม่มีความสมัครสามัคคีกันย่อมทำให้เกิดรอยร้าว และนำไปสู่ความไม่เข้าใจกันในที่สุดนั้นจะส่งผลให้งานที่ออกมามีปัญหาเช่นเดียวกันกับพนักงานที่รู้สึกว่าความสัมพันธ์กับหัวหน้างานไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่ ไม่ว่าจะเป็นเจ้านายไม่ปลื้มผลงาน เจ้านายลำเอียง หรือเจ้านายเลือกที่รักมักที่ชัง เพราะพวกเขาเล็งเห็นว่าหากมีปัญหากับหัวหน้างานอาจจะส่งผลให้ไม่ได้รับการโปรโมทในงาน ไม่ได้รับการปรับขึ้นเงินเดือน หรืออาจจะทำให้รู้สึกอึดอัดใจที่จะต้องทำงานด้วย นี้ก็ถือเป็นสาเหตุที่ส่งผลให้พนักงานหลายๆคนเลือกที่จะลาออกเพื่อที่จะหาที่ทำงานใหม่ๆที่ตนสามารถเข้าร่วมและอยู่ได้อย่างสบายใจ

ความไม่เท่าเทียม

แน่นอนว่าปัญหาการเมืองภายในองค์กรนั้นถือว่าเป็นเรื่องใหญ่มากสำหรับการทำงานของพนักงานเลยก็ว่าได้เพราะปัญหาเหล่านี้มักจะทำให้คนที่เก่งแต่ไม่ได้ถูกโปรดปรานลาออก และรวมไปถึงการมองถึงพนักงานเก่าเป็นของตายโดยไม่ใส่ใจหรือมองเห็นคุณค่า ผิดกับพนักงานใหม่ที่เข้ามารับผลตอบแทนที่มากกว่าทั้งที่อาจจะทำงานได้ไม่เท่าพนักงานเก่า ยกตัวอย่างเช่น หัวหน้าชอบพนักงานคนนี้มากกว่า เลยส่งผลให้พนักงานคนนั้นได้เลื่อนขั้นเร็วกว่าคนอื่นๆที่ไม่ได้เป็นที่โปรดปราน เมื่อไหร่ที่มีความไม่เท่าเทียมกันเกิดขึ้นก็จะส่งผลให้องค์กรเสียพนักงานที่เก่งหรือพนักงานเก่าที่รู้งานอยู่แล้วปัญหาตรงนี้ก็จะส่งผลกระทบต่อองค์กรในการหาพนักงานใหม่และเสียเวลาในการสอนงานให้กับพนักงานใหม่นั้นเอง

ได้ทำงานที่ไม่ถนัด

ปัญหาที่หลายๆคนประสบพบเจอเมื่อเริ่มทำงานนั้นบางครั้งนั้นก็คือการได้ทำงานในสิ่งที่ตนไม่ถนัด อย่างเช่นการที่เรียนจบมาอีกแบบหนึ่ง แต่พอมาทำงานจริงๆแล้วนั้นงานที่เจอกับไม่เป็นอย่างที่คิด หรือการได้รับมอบหมายในงานที่เกินขอบเขตที่ตนรับผิดชอบหรือเกินกำลังของตนเองมากจนเกินไปก็จะก่อให้เกิดความประหม่าหรือความไม่มั่นใจในการทำงานที่ตนทำอยู่ ดังนั้นสิ่งนี้จะทำให้พวกเขารู้สึกกดดันตนเอง กังวลในเรื่องระยะเวลาที่จะต้องส่งกับปริมาณงานที่ได้รับและกังวลว่าในเรื่องของประสิทธิภาพของงานที่ได้รับมอบหมายเพราะเมื่อหากงานที่ออกมาไม่ดีตามที่หวังก็จะได้รับการตำหนิ ดังนั้นหากเลือกได้พวกเขามักจะมองหางานใหม่ที่ใช่มากกว่า หรืองานที่พวกเขาถนัดมากกว่า นี้ก็เป็นอีกสาเหตุที่ส่งผลให้พนักงานลาออกนั้นเองค่ะ

แนวทางแก้ปัญหาลดอัตราการ ( ลาออก ) ของพนักงาน

สำรวจค่าจ้างและสวัสดิการของพนักงาน

องค์กรต้องสำรวจว่าค่าจ้างและสวัสดิการของพนักงานในแต่ละคนว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ อาจจะใช้วิธีโดยการสำรวจค่าจ้างและสวัสดิการในตำแหน่งนั้น ๆ ว่าตแหน่งที่พวกเขาทำอยู่นั้นในตลาดแรงงานนั้นให้กันอยู่ที่เท่าไร เพื่อที่เราจะได้มีการจ่ายค่าจ้างและให้สวัสดิการนั้นให้ตรงตามความเหมาะสมเพื่อความพึ่งพอใจของพนักงานและรักษาพนักงานในการทำงานกับองค์กรให้นานมากยิ่งขึ้นนั้นเอง

วางแผนให้พนักงานได้เติบโตไปกับองค์กร

แน่นอนว่าแนวทางการเติบโตขององค์กรนั้นสำคัญเป็นอย่างมาก ดังนั้นองค์กรต้องวางแผนสร้างทิศทางการทำงานให้พนักงานได้เห็นโอกาสที่จะเติบโตก้าวหน้าในอาชีพที่พวกเขาทำอยู่ สร้างความเชื่อมั่นและทำให้พวกเขาได้มีการพัฒนาศักยภาพให้มากยิ่งขึ้น โดยอาจจะใช้วิธีที่ทำให้พนักงานได้ลองทำอะไรใหม่ ๆ หรือมีสวัสดิการในการส่งไปอบรมเพื่อความรู้ความสามารถที่มากยิ่งขึ้น และวางเป้าหมายให้พวกเขารู้สึกว่ามีเป้าหมายมีความท้ายทายในการทำงานเพื่อความก้าวหน้าและเติบโตในสายงานนั้นเอง

สร้างความสัมพันธ์ที่ดีในองค์กร

การทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดีของพนักงานทุกคนนั้นถือเป็นสิ่งที่ดี เพราะจะช่วยให้องค์กรลดปัญหาในการเกิดการมืองหรือความขัดแย้งภายในองค์กร ดังนั้นในการเชื่อมสัมพันธืที่ดีให้กับพนักงานนั้นองค์กรอาจจะหากิจกรรมให้พนักงานในองค์กรได้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน คนที่เป็น HR จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใส่ใจพนักงานทุกคนอย่างเท่าเทียมไม่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และจะต้องสร้างความสัมพันธ์ที่มีต่อกันอย่าปล่อยให้สภาพแวดล้อมในการทำงานแย่ลงไปเรื่อย ๆ

มอบหมายงานให้ตรงตามตำแหน่ง

คนเป็นหัวหน้างานนั้นควรมอบงานที่ตรงกับตำแหน่งหน้าที่ของลูกน้องโดยไม่เอาเปรียบลูกน้อง รู้จุดอ่อน จุดแข็งของลูกทีมเป็นอย่างดี และไม่มอบหมายงานให้แก่ลูกน้องมากจนเกินไปจนบางครั้งก็จะเกิดการทำงานที่มากจนเกินไป ดังนั้นแล้วจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมอบหมายในงานที่เหมาะสมตามตำแหน่งและตามหน้าที่ของพนักงานอย่างเท่าเทียมเพื่อความพึงพอใจงานของพนักงานและประสิทธิภาพในการทำงาน

ให้ความเท่าเทียมที่เท่ากัน

องค์กรจะต้องให้ความยุติธรรมและความเท่าเทียมแก่พนักงานทุกคนอย่างเท่า ๆ กันไม่เข้าข้างใครคนใดคนหนึ่งอย่างไร้เหตุผลเพียงเพราะเขาเป็นคนโปรด แต่ควรที่จะให้ความเท่าเทียมกันอย่างเหมาะสม อย่างตรงไปตรงมา ไม่เลือกปฏิบัติ โดยคำนึงในการชั่งน้ำหนักแต่ละเรื่องให้เป็นอย่างดีก่อนตัดสินนั้นเอง

          เมื่อพบกับปัญหาเราก็ต้องคิดหาวิธีแก้ แน่นอนหลักการในการดูแลพนักงานในองค์กรให้พวกเขามีความสุขนั้นถือเป็นเรื่องที่ยากจะเข้าใจหรือเป็นเรื่องซับซ้อนที่องค์กรต้องเจอเพราะพนักงานแต่ละคนมีความต้องการไม่เหมือนกันแล้วในฐานะที่เราเป็นนายจ้างเราควรจะหาจุดตรงกลางร่วมกันเพื่อที่จะได้มีฐานในการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขและสิ่งเหล่านี้แหละค่ะที่จะทำให้พนักงานรักในองค์กรและอย่าที่จะทำงานกับองค์กรไปนานๆ เพราะถ้าเมื่อไหร่ที่พวกเขามีความสุขในการทำงานแน่นอนว่าพวกเขาก็จะยิ่งสร้างผลงานหรือผลิตผลงานที่มีประสิทธิภาพให้กับองค์กรได้เป็นอย่างดีนั้นเองค่ะ

ข้อมูลอ้างอิงจาก

https://th.hrnote.asia/

https://th.jobsdb.com/th/th

สามารถอ่านบทความอื่นๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับกฎหมาย PDPA และสายงาน HR    คลิ๊ก!!!

แบ่งปันบทความดีๆ

Facebook
Twitter
LinkedIn

บทความที่เกี่ยวข้อง