Human Capital ต้นทุนมนุษย์

Human Capital ต้นทุนมนุษย์

ทุนมนุษย์คืออะไร?

          ทุนมนุษย์ หรือ “Human Capital” จึงหมายถึงทุนของทรัพยากรมนุษย์ อันประกอบไปด้วย ทักษะที่สะสมมาความรู้ความชำนาญ ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญความคิดสร้างสรรค์ ตลอดจนบุคลิกภาพ และทรัพย์สินส่วนบุคคลอื่นที่จับต้องไม่ได้ อาทิ สัมพันธภาพส่วนบุคคลในสังคม การได้รับการยอมรับในแวดวง ฯลฯ ที่จะทำให้บุคคลนั้นสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ตนเององค์กร และสังคมได้ คำจำกัดความของทุนมนุษย์สามารถอธิบายได้ว่าเป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตนซึ่งเกิดจาความสามารถและประสบการณ์ของบุคคลทุนมนุษย์ไม่ใช่สินทรัพย์อย่างเป็นทางการที่คุณสามารถวัดได้ในงบดุล แต่ก็ยังถือว่าเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจของบริษัทนั่นเป็นเพราะว่าทุนมนุษย์ช่วยให้บริษัทสามารถให้บริการลูกค้า สร้างผลิตภัณฑ์ และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ สำหรับข้อเสนอใหม่ๆทุนมนุษย์ประกอบด้วยปัจจัยหลายประการ ได้แก่

  • ทักษะจุดแข็ง และจุดอ่อนของพนักงาน
  • การศึกษาและการฝึกอบรม
  • ความฉลาดในงานและความฉลาดทางอารมณ์
  • บุคลิกภาพ
  • ประสบการณ์การทำงาน
  • ความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน
  • ความจงรักภักดีต่อบริษัท
Human Capital ต้นทุนมนุษย์

ทุนมนุษย์มีผลกระทบต่อองค์กรอย่างไร?

          ในหลาย ๆ บริษัทสามารถเรียกได้เลยว่ายังมีความเป็นอยู่ได้เพราะการมีกำลังพลของพนักงานที่ดี เพราะสำหรับคนที่เป็นพนักงานของบริษัทนั้นย่อมมีความรับผิดชอบต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวของบริษัท และยิ่งหากองค์กรนั้นมีการจ้างคนที่มีความรู้ ความสามารถ หรือทักษะการพัฒนาที่ดีมากยิ่งขึ้น ประกอบไปด้วยประสบการณ์การทำงานที่มาก ก็จะยิ่งทำให้องค์กรนั้นสามารถบรรลุผลสำเร็จมากขึ้น นั้นหมายความว่าหากองค์กรมีการรักษาระดับทุนมนุษย์ที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ก็จะยิ่งส่งผลให้พนักงานมีความสามารถในการทำงานมากขึ้น และพวกเขายังเป็นส่วนช่วยให้สามารถคิดค้นและคิดหาวิธีที่สร้างสรรค์เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดต่างๆ รวมทั้งรักษาคนที่มีประสบการณ์ในการทำงานที่มาก เพราะพวกเขายังสามารถบรรลุประสิทธิภาพของงานได้อย่างต่อเนื่องโดยการอาศัยประสบการณ์ชีวิตการทำงานอันยาวนาน เพราะประสบการณ์เหล่านี้ทำให้พวกเขามีมุมมองในการทำงานที่กว้างขึ้นและสามารถมองเห็นปัญหาและแก้ปัญหาในงานได้อย่างตรงจุด สิ่งสำคัญของการพัฒนาบุคคลเหล่านั้นคือ องค์ความรู้ (Knowledge) บุคลากรที่มีทักษะหรือความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้ ตลอดจนกระบวนการที่ช่วยส่งเสริมการนำความรู้บวกกับรูปแบบวิธีการกระบวนการคิดต่าง ๆ ไปใช้ในกระบวนการทำงานเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายขององค์กรตาม โดยที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมจากบุคลากรในองค์กรเป็นสิ่งสำคัญ

ประเภทของทุนมนุษย์

ประเภทของทุนมนุษย์ สามารถแบ่งแยกออกเป็นสามประเภท ได้แก่ : ทุนความรู้ ทุนทางสังคม และทุนทางอารมณ์ ดังต่อไปนี้

  1. แหล่งความรู้
  • การศึกษาฝึกอบรม
  • ระดับมหาวิทยาลัย
  • ทักษะเฉาะ
  • ประสบการณ์การทำงาน
  • ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์
  • สติปัญญา
  1. ทุนทางสังคม
  • ความสัมพันธ์
  • ชื่อเสียง
  • สถานะทางสังคม
  • สุขภาพ
  1. ทุนทางอารมณ์
  • ความฉลาดทางอารมณ์
  • ความคิดสร้างสรรค์
  • การแก้ปัญหา
  • ความยืดหยุ่น
  • การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
  • ความภักดี
  • ทักษะความเป็นผู้นำ
  • ซอฟท์สกิลอื่นๆ

การบริการทุนมนุษย์ในองค์กร

          แนวคิดเรื่องการบริหารแบบของบุคลากรในองค์กรนี้จะต้องมีกระบวนการในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ต้องจะต้องปรับเปลี่ยนการปฏิบัติหลายประการเพื่อให้พนักงานได้มีคุณภาพตรงตามที่องค์กรต้องการ ได้แก่

  1. การสรรหาและคัดเลือก

สรรหาและคัดเลือกควรจะมุ่งเน้นการคัดเลือกบุคลากรที่มีศักยภาพสูง หรือมีความสามารถในการที่จะพัฒนาตนเองได้ตามทิศทางที่องค์กรมุ่งหวัง ในคุณสมบัติของพนักงานจะต้องถูกกำหนดพร้อมกับแหล่งการสรรหาอย่างชัดเจนเจาะจง อย่างเช่น สถาบันการศึกษาที่มีสาขาวิชาที่ได้รับการยอมรับ นอกจากนี้คุณสมบัติที่มีความหลากหลายทั้งในเรื่องความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ในธุรกิจก็จะทำให้ได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้น

  1. การพัฒนาศักยภาพ

การพัฒนาจะมุ่งเน้นการพัฒนาจากบุคลากรที่มีความชำนาญและความสามารถเฉพาะด้าน เป็นการพัฒนาเพื่อสร้างทักษะให้มีความหลากหลายในงาน โดยผ่านการวิเคราะห์ความรู้ ความสามารถ และคุณลักษณะอย่างเป็นระบบ วิธีการพัฒนาจะใช้เทคโนโลยีมากขึ้น และผู้เรียนจะเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านหลักสูตรต่างๆ ที่จัดทำ ผู้บริหาร หัวหน้างาน และพนักงาน จะมีบทบาทร่วมกันมากขึ้นในการกำหนดเนื้อหาและวิธีการฝึกอบรมที่เหมาะสมกับ พนักงานแต่ละคน ผู้บริหารและหัวหน้างานมีบทบาทในการเป็นผู้สอนแนะพร้อมกับการส่งเสริมให้ พนักงานเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

  1. การจัดสวัสดิการและผลตอบแทน

ผลประโยชน์ที่ตอบแทนจะถูกออกแบบเพื่อใช้เป็นกลยุทธ์ในการจูงใจเฉพาะบุคคล ซึ่งมีความต้องการและคุณลักษณะพื้นฐานแตกต่างกัน การจัดสวัสดิการ ต้องกำหนดงบประมาณของแต่ละบุคคล และให้พนักงานเลือกประเภทสวัสดิการที่ต้องการด้วยตนเอง เริ่มได้รับความสนใจมากขึ้น นอกจากนี้การบริหารผลตอบแทนจะเชื่อมโยงกับการบริหารผลการปฏิบัติมากขึ้น

  1. การจูงใจ

การจัดสวัสดิการด้านการศึกษาต่อในระดับสูง การฝึกอบรม และผลตอบแทนที่จูงใจจะเป็นปัจจัยสำคัญที่บุคลากรให้ความสนใจ รวมทั้งการบริหารจัดการที่ให้พนักงานมีอำนาจในการตัดสินใจด้วยตนเองมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของคนรุ่นใหม่ซึ่งมีความคิดเห็นและมีความเชื่อมั่นใน ตนเองสูง

ทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้นำในสถานที่ทำงานประกอบด้วย

  • มีความเข้าใจในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป
  • สามารถระบุโอกาสและอุปสรรคได้
  • มีความสามารถในการบริหารด้านการเงิน
  • สามารถดึงศักยภาพออกมาได้อย่างเต็มที่
  • สามารถพัฒนากรอบการทำงานได้อย่างเหมาะสม
  • มีความสามารถในการวิเคราะห์ศักยภาพขององค์กรเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง
  • มีความสามารถในการสร้างผู้นำในองค์กร
  • มีความเข้าใจในความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ตลาด และหน่วยงานภาคเอกชน
  • มีความสามารถในการวางกลยุทธ

บุคลากรถือว่าเป็นทุนที่มีความสำคัญซึ่งทุกองค์กรจะต้องลงทุนหรือมีค่าใช้จ่ายเพื่อให้ได้ผลตอบแทนจากทักษะและความรู้ความสามารถของบุคลากรในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ หรือจะเรียกอีกอย่างว่า “ทุนมนุษย์” นั้นเองค่ะ

สามารถอ่านบทความอื่นๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับกฎหมาย PDPA และสายงาน HR    คลิ๊ก!!!