Personal Data ข้อมูลทางตรง ทางอ้อมและสิ่งที่องค์กรควรรู้

Personal Data ข้อมูลส่วนบุคคล

          ข้อมูลส่วนบุคคล หรือที่เรียกว่า PDPA (Personal Data Protection Act.) ได้มีการกำหนดขึ้นเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 ได้มีการออกกฎหมายที่พูดถึงข้อมูลส่วนบุคคลหรือ PDPA ขึ้นมา ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตามกฎหมายทั้งฉบับเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2565 และเนื่องจากโลกของเรานั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วตามยุคสมัยนี้มีและผู้คนแลกเปลี่ยนข้อมูลส่วนบุคคลกันตลอดเวลา โดยเฉพาะยิ่งเป็นช่วงที่ต้องมีการรักษาระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ในยุคของสถานการณ์ COVID-19 ดังนั้นจึงทำให้คนต้องหันมาใช้บริการเทคโนโลยีมากและหลากหลายมากยิ่งขึ้น โดยการใช้เทคโนโลยีต่างๆ นั้นอาจจะต้องมีการกรอกข้อมูลส่วนบุคคลต่างๆที่มีความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้การสมัครสมาชิกหรือใช้บริการ นั่นจึงทำให้เห็นได้ชัดว่า การจัดการข้อมูลส่วนบุคคลอย่างมีมาตรฐานเป็นเรื่องที่สำคัญมากยิ่งขึ้นภายใต้สภาวะแบบนี้นั่นเองจึงเป็นสาเหตุหลักในการออกกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือ PDPA ออกมาควบคุม

          หลังจากที่หลายๆคนคงพอทราบไปเบื้องต้นเกี่ยวกับที่มาที่ไปของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือ PDPA ที่มีประกาศบังคับใช้ในวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ไปแล้วนั้น อย่างที่เรารู้ๆ กันว่าหลักกฏหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนี้มีขึ้นมาเพื่อจัดระบียบในการป้องกันการนำข้อมูลส่วนบุคคลเข้าสู่ระบบอันเป็นเท็จ หรือเพื่อป้องกันการเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จและหากในกรณีที่ข้อมูลเกิดการรั่วไหล เปิดเผย หรือเกิดการถ่ายโอนข้อมูลขึ้น ผู้ที่ละเมิดสิทธิจะต้องเกิดได้รับบทลงโทษทั้งทางแพ่ง ทางอาญา และโทษปรับที่หนักสูงสุดถึง 5 ล้านบาท หรือจำคุกสูงสุด 1 ปี และยังต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทน ตามความเหมาะสมในแต่ละกรณีนั้น ๆ

          PDPA ( Prosonal Data Protection Act.) คือ ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งสามารถทำให้สามารถระบุถึงตัวบุคคลนั้นได้ไม่ว่าจะเป็นทางตรง หรือข้อมูลทางอ้อม เว้นแต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ที่ถึงแก่กรรม พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

ข้อมูลทางตรงข้อมูลทางอ้อมประกอบไปด้วยอะไรบ้าง?

ข้อมูลทางตรง

ข้อมูลทางอ้อม

1. ข้อมูลทางตรงที่สามารถระบุถึงตัวบุคคลนั้นได้อย่างชัดเจน เช่น

  • ชื่อจริง นามสกุล
  • ที่อยู่
  • หมายเลขโทรศัพท์
  • หมายเลขบัตรประชาชน
  • Email
  • รูปถ่ายของบุคลลนั้น ๆ
  • อายุ
  • ประวัติการศึกษา
  • ประวัติการทำงาน

2. ข้อมูลทางอ้อม คือ ข้อมูลที่สามารถนำไปแยกแยะได้ว่าเราคือใคร และเอาไปใช้ติดตามถึงตัวบุคคลได้ และมีความสามารถในการเชื่อมโยงกับข้อมูลอื่นๆ ข้างนอก หรือสามารถนำข้อมูลเหล่านี้สามารถบอกลักษณะการใช้ชีวิตของเขาได้

ยกตัวอย่างข้อมูลทางอ้อม เช่น

  • บุคคลนี้เติมน้ำมันที่ปั๊มใด ละแวกใด
  • การตรวจสอบการขึ้นลงรถไฟ การเดินทางไปสถานีใดบ้างมีการใช้บัตรเป็นรายวัน หรือรายเดือน ต่างๆ
  • บัญชีออนไลน์นี้ เคยซื้อของออนไลน์หมวดหมู่ใดบ้าง และมีรูปแบบของการซื้อของใหม่ซ้ำบ่อยแค่ไหน
  • การเข้าถึงเว็บไซต์ผ่านโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น อีเมล หรือเฟสบุค เป็นต้น

" ดังนั้น ข้อมูลที่สื่อถึงสิ่งเหล่านี้สามารถนำมาระบุตัวตนคนคนหนึ่งได้ เนื่องจากเป็นข้อมูลทางอ้อมที่สามารถเกี่ยวโยงไปถึงวิถีลักษณะการใช้ชีวิตของเจ้าของข้อมูลได้นั่นเองได้ "

สิ่งที่องค์กรต้องเตรียมรับมือเพื่อตอบรับกับกฎหมาย PDPA ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง?

         เราจะเห็นได้ว่าองค์กรนั่นได้มีการจัดเก็บ รวบรวม หรือใช้ข้อมูลส่วนบุคคลทั้งข้อมูลของบุคคลภายในองค์กร หรือข้อมูลของบุคคลภายนอกอย่างผู้สมัครงาน ลูกค้า หรือคู่ค้าทางธุรกิจ (Vendor) ต่างๆ เพื่อใช้ในการประกอบธุรกิจ เรียกได้ว่าแทบจะทุกธุรกิจเลยก็ว่าได้ที่มีการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลเหล่านี้อยู่ในครอบครอง ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ จำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎหมาย PDPA ( Prosonal Data Protection Act.)  ทั้งสิ้นสำหรับ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (PDPA) จะมีการมุ่งเน้นไปที่การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและกระบวนการพิจารณาดำเนินการกรณีมีการร้องเรียนโดยเจ้าของข้อมูล ซึ่งอาจเป็นการไกล่เกลี่ย ตักเตือน และมีหลายขั้นตอนในการยุติปัญหาข้อพิพาทที่เกิดขึ้นปัจจุบันนี้หลายองค์กรมีการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและบริหาร ทั้งในด้านการเก็บรวบรวม  เก็บรักษา ประมวลผล และวิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงการเผยแพร่ข้อมูลต่าง ๆ

          ในส่วนของความผิดและบทกำหนดโทษ คุณเธียรชัยชี้ว่ากฎหมายไม่มีเจตนาที่จะลงโทษปรับขั้นสูงสุดทุกกรณี เพราะยังมีตัวแปรอื่น ๆ ที่ผู้เชี่ยวชาญต้องนำมาพิจารณาประกอบด้วย เช่น ความร้ายแรงของผลกระทบที่เกิดขึ้น ขนาดขององค์กรและจำนวนของข้อมูล และโดยเฉพาะความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเจ้าของข้อมูล เป็นต้น หากเป็นกรณีที่ไม่ร้ายแรงโทษปรับก็จะน้อยกว่าเรื่องที่มีความร้ายแรงโดยความผิดและบทกำหนดโทษของ  PDPA  แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ความรับผิดทางแพ่งอย่างการการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน และบทกำหนดโทษคือโทษอาญาและโทษทางปกครอง ซึ่งโทษอาญานั้นมีทั้งปรับ  จำคุก  หรือจำคุกและปรับ ส่วนในด้านโทษทางปกครอง มีโทษปรับโดยไม่มีโทษจำคุก เป็นส่วนที่องค์กรหรือผู้ประกอบการต่างมีความกังวลเนื่องจากมีอัตราค่าปรับที่สูงสำหรับ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (PDPA) จะมีการมุ่งเน้นไปที่การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและกระบวนการพิจารณาดำเนินการกรณีมีการร้องเรียนโดยเจ้าของข้อมูล ซึ่งอาจเป็นการไกล่เกลี่ย ตักเตือน และมีหลายขั้นตอนในการยุติปัญหาข้อพิพาทที่เกิดขึ้น

สิ่งที่องค์จะต้องแจ้งเพื่อให้เจ้าของข้อมูลรู้

  • แจ้งวัตถุประสงค์การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล
  • แจ้งให้ทราบถึงเหตุผลการให้ข้อมูล เพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย หรือสัญญาหรือมีความจำเป็น และผลกระทบ
  • แจ้งระยะเวลาในการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล
  • แจ้งประเภทของบุคคลหรือหน่วยงานที่สามที่ซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลที่เก็บรวบรวมอาจจะถูกเปิดเผย
  • แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล รวมท้ั้งสถานที่ติดต่อและวิธีการติดต่อ
  • แจ้งสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

สิ่งที่เจ้าของธุรกิจจะต้องดำเนินการ

  • ประกาศนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  • แต่งตั้งให้บุคคลใดบุคคลหนึ่ง (outsource) เป็นผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
  • ปรับปรุงใบสมัครงาน/สัญญา จ้างแรงงาน/ข้อบังคับการทำงาน
  • สร้างระบบการเข้าถึงข้อมูล เช่น ตู้เก็บเอกสารข้อมูลส่วนบุคคลให้มีระบบ ล็อก กุญแจ หรือล็อคระบบการเข้าถึง
  • จัดทำแบบฟอร์มการแจ้งยกเลิกการให้ความยินยอม
  • ต้องทำแบบฟอร์มให้ความยินยอม การเก็บ ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูล ส่วนบุคคล (รวมถึงพนักงานเก่า)
  • ทำ Data Flow/ประเมินความ เสี่ยงของข้อมูลส่วนบุคคล (DPIA) เพิ่มเติม DPIA หมายถึง
  • บันทึกรายการข้อมูลส่วนบุคคล

สรุป ดังนั้นการที่ประเทศไทยได้มีการออกกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลออกมาก็เพื่อที่จะเป็นการคุ้มครองข้อมูลส่วนตัวของทุกคนเพื่อไม่ให้เกิดการรั่วไหลหรือถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด และเพื่อป้องกันการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวอื่นๆที่จะสามารถระบุถึงตัวเจ้าของข้อมูลได้นั่นเอง หรือแม้แต่เป็นการป้องกันการถูกเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมนั่นเองค่ะ

สามารถอ่านบทความอื่นๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับกฎหมาย PDPA และสายงาน HR คลิ๊ก!!!

PDPA เก็บข้อมูลอย่างไร? ให้ปลอดภัย

ข้อมูลส่วนบุคคล มีอะไรบ้าง ? อาจจะเป็น 1 ในคำถามที่ชาวเราฝ่ายบุคคลฯ มีข้อสงสัย เพราะข้อมูลส่วนบุคคลนี้เป็นสิ่งสำคัญของกฎหมาย PDPA ( Personal Data Protection Act ) หรือที่ภาษาไทยเรียกว่า พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ออกมาพื่อคุ้มครองสิทธิเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ทำถือว่าผิด ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมไม่ให้องค์กร หรือบริษัทนำข้อมูลส่วนบุคคลของเราไปใช้โดยไม่ได้รับความยินยอม และเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการนำข้อมูลไปใช้โดยมิชอบ

ในปัจจุบันที่เราอยู่ในยุคที่ธุรกิจและการตลาดขับเคลื่อนด้วยข้อมูลแล้วนั้น ทำให้ “ข้อมูลส่วนบุคคล” ของเรากลายเป็นสิ่งที่มีมูลค่า และมีความสำคัญสำหรับหลาย ๆ ธุรกิจเป็นอย่างมาก เพราะข้อมูลส่วนตัวของเรานั้นอาจจะเสี่ยงในการถูกเผยแพร่โดยไม่ได้มีการทำเรื่องในการขออนุญาตในการเปิดเผยให้กับองค์กรต่างๆ เพราะหลายๆธุรกิจสามารถนำข้อมูลของเรานั้นไปต่อยอดธุรกิจจากข้อมูลที่มี เพื่อพัฒนาสินค้าและบริการให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ แต่น้อยคนนักจะรู้ว่า PDPA และข้อมูลส่วนบุคคลมีความสำคัญอย่างไรต่องาน HR ?

รู้หรือไม่?! ว่าการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลนั้นมีทั้งในรูปแบบออฟไลน์ หรือออนไลน์ หากมีการเก็บข้อมูลโดยไม่ถูกต้อง อาจมีความผิดตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA ได้  

และด้วยเหตุนี้ ประเทศไทยจึงได้มีการกำหนดกฎหมาย PDPA (Personal Data Protection Act: PDPA) หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งเป็นพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เพื่อให้บริษัท พนักงาน หรือผู้ที่เกี่ยวข้องนั้นมีการคำนึงถึงความสำคัญของความสำคัญของข้อมูลส่วนบุคคลให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ซึ่งถ้าบริษัทเก็บรวบรวมข้อมูลทันที โดยไม่ได้มีการชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานหรือผู้ใช้งาน หรือไม่ได้มีการขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อนสำหรับการจัดเก็บและไม่ได้มีการแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรที่ชัดเจน จะกลายเป็นการที่ว่าบริษัทไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักกฎหมาย PDPA และอาจมีความผิดได้

ข้อมูลส่วนบุคคล คืออะไร ?

ข้อมูลส่วนบุคคล คือ ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ทั้งทางตรงหรือทางอ้อม แต่จะไม่นับรวมข้อมูลของผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว ซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลนี้แบ่งออกเป็น 2 แบบก็คือ ข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) และ ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อน (Sensitive Personal Data)

ข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data)

ข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) คือ ข้อมูลใด ๆ ที่สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ (ระบุไปถึงเจ้าของข้อมูล) ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อมก็ตาม แต่จะไม่รวมไปถึงข้อมูลของผู้ที่เสียชีวิตแล้ว หรือ ข้อมูลของนิติบุคคล เช่น บริษัท มูลนิธิ สมาคม องค์กร

ตัวอย่างข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป ประกอบด้วย

1. ชื่อ นามสกุล ชื่อเล่น
2. เลขประจำตัวประชาชน, เลขหนังสือเดินทาง, เลขบัตรประกันสังคม, เลขใบอนุญาตขับขี่, เลขประจำตัวผู้เสียภาษี, เลขบัญชีธนาคาร, เลขบัตรเครดิต (การเก็บเป็นภาพสำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาบัตรอื่นๆที่ที่ข้อมูลส่วนบุคคล)
3. ที่อยู่ อีเมล โทรศัพท์
4. ข้อมูลที่สามารถเชื่อมโยงไปยังข้อมูลข้างต้นได้ เช่น วันเกิดและสถานที่เกิด, เชื้อชาติ, สัญชาติ, น้ำหนัก, ส่วนสูง, ข้อมูลตำแหน่งที่อยู่ (location), ข้อมูลการแพทย์, ข้อมูลการศึกษา, ข้อมูลทางการเงิน, ข้อมูลการจ้างงาน เป็นต้น

ตัวอย่างข้อมูลที่ไม่เป็นข้อมูลส่วนบุคคล ประกอบด้วย

1. เลขทะเบียนบริษัท
2. ข้อมูลสำหรับการติดต่อทางธุรกิจที่ไม่ได้ระบุถึงตัวบุคคลเช่นหมายเลขโทรศัพท์หรือ แฟกซ์ที่ทำงาน, ที่อยู่สำนักงาน, อีเมลที่ใช้ในการทำงาน, อีเมลของบริษัท เป็นต้น
3. ข้อมูลนิรนาม (Anonymous Data) หรือข้อมูลแฝง (Pseudonymous Data) หมายถึง ข้อมูลหรือชุดข้อมูลที่ถูกทำให้ไม่สามารถระบุตัวบุคคลได้อีกโดยวิธีการทางเทคนิค
4. ข้อมูลผู้ตาย

ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อน (Sensitive Personal Data)

คือ ข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นเรื่องส่วนตัวโดยแท้ของบุคคล แต่มีความละเอียดอ่อนและสุ่มเสี่ยงต่อการถูกใช้ในการเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม จึงจำเป็นต้องดำเนินการด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ

ตัวอย่างข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นข้อมูลอ่อนไหว ประกอบด้วย

1. เชื้อชาติ
2. เผ่าพันธุ์
3. ความคิดเห็นทางการเมือง
4. ความเชื่อในลัทธิ ศาสนาหรือปรัชญา
5. พฤติกรรมทางเพศ
6. ประวัติอาชญากรรม
7. ข้อมูลสุขภาพความพิการหรือข้อมูลสุขภาพจิต
8. ข้อมูลสหภาพแรงงาน
9. ข้อมูลพันธุกรรม
10. ข้อมูลชีวภาพ
11. ข้อมูลอื่นใดตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

แล้วในฐานะที่เราเป็นนายจ้างหรือเจ้าของบริษัทอย่าพึ่งตกใจไป เรายังสามารถเก็บข้อมูลเหล่านี้ได้ตามปกติ ตราบใดที่เรามีความจำเป็นตามที่กฎหมายกำหนด หรือตามลักษณะการจ้างงานของเรา เพียงแต่เราจะต้องมีการแจ้งให้พนักงานทราบอย่างชัดเจนเท่านั้นเองค่ะ ว่าเราเก็บข้อมูลอะไรบ้างและนำไปใช้ทำอะไรบ้าง ซึ่งในที่นี้นายจ้างสามารถแจ้งผ่านเอกสาร อย่างการทำเอกสารที่ชื่อว่า HR Privacy Policy

HR Privacy Policy คืออะไร?

ส่วนใหญ่แล้วข้อมูลที่บริษัทเก็บล้วนแต่มีความจำเป็นในการทำงานหรือมีความจำเป็นตามทางกฎหมายทั้งสิ้น ซึ่งหากเป็นไปตามนี้บริษัทไม่จำเป็นต้องขออนุญาตในการเก็บ เพียงแต่ต้องแจ้งให้ทราบเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น

– การเก็บชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนสำหรับการยื่นภาษีและประกันสังคม
– การเก็บชื่อ และ หมายเลขบัญชีธนาคาร เพื่อใช้โอนเงินเดือน
– การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับคุณสมบัติในการทำงาน เช่น ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน และประวัติอาชญากรรม เพื่อการประเมินความเหมาะสมในการจ้างพนักงาน
– การเก็บข้อมูลการทำงาน เช่น ประวัติการเข้าทำงาน แบบประเมินความสามารถและการวัดผลต่างๆ เพื่อประเมินประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน

อย่างไรก็ตามบริษัทหลายแห่งมีการเก็บรูปถ่าย หรือลายนิ้วมือของพนักงาน (เช่นสำหรับการเข้าออกประตู หรือลงเวลาทำงาน) ข้อมูลเหล่านี้ถือว่าเป็นข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว (Sensitive PII) ทางบริษัทต้องขอความยินยอมจากทางพนักงานทุกครั้ง

บริษัทสามารถแจ้ง HR Privacy Policy ให้พนักงานทราบได้อย่างไรบ้าง?

การแจ้งให้ทราบสามารถทำได้หลายวิธี เลือกใช้งานได้ตามความเหมาะสมดังนี้
– ส่งอีเมลหาพนักงานทุกคน
– ปิดประกาศ HR Privacy Policy ในสำนักงาน ในตำแหน่งที่พนักงานทุกคนเห็นได้ชัด
– รวมไว้เป็นส่วนหนึ่งในสัญญาจ้างงาน

อย่างแรกเลย HR ต้องคำนึงว่าข้อมูลพนักงานทุกอย่างล้วนเป็นข้อมูลส่วนบุคคลเสมอ ซึ่งจะอยู่ภายใต้การคุ้มครองจาก PDPA ทั้งหมด HR จึงต้องกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม การรักษา และการนำไปใช้อย่างเปิดเผยเป็นลายลักษณ์อักษรที่ชัดเจน นอกจากการจัดทำเอกสาร Privacy Policy แล้วเมื่อมีการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลใด นายจ้างหรือ HR มีหน้าที่รักษาความปลอดภัยของข้อมูล ไม่ใช่แค่ความลับ แต่ต้องรวมถึง ความถูกต้องและความพร้อมใช้ของข้อมูลส่วนบุคคลที่ตนใช้

สรุปข้อมูลส่วนบุคคล มีอะไรบ้าง?

ข้อมูลส่วนบุคคลที่เรากล่าวไปข้างต้นนั้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภทก็คือ ข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) และ ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อน (Sensitive Personal Data) ซึ่งทั้งสองประเภทเกี่ยวข้องกับกฎหมาย PDPA และงานของ HR เป็นอย่างมาก ดังนั้นทางฝ่ายทรัพยากรบุคคลจึงต้องใส่ใจ และหาข้อมูลเกี่ยวกับ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรืออาจจะหาผู้ช่วยอย่าง Trust Vision ที่จะช่วยให้ PDPA ของฝ่าย HR ง่ายยิ่งขึ้นอย่างแน่นอน

Social Intelligence ความฉลาดทางสังคม

Social Intelligence คืออะไร?

ความฉลาดทางสังคม (Social Intelligence) อาจเรียกได้ว่า สามัญสำนึกนั่นเอง คือการที่เราสามารถพาตัวเราเองเข้ากับผู้อื่นได้โดยง่าย ซึ่งจะนำไปสู่การเข้าสังคม การอยู่ร่วมกับผู้อื่น การเป็นที่รักของผู้อื่น ถือเป็นความสามารถอย่างดีในการเข้าอกเข้าใจผู้อื่น และเห็นใจผู้อื่น นั่นซึ่งจะช่วยให้ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานได้เป็นอย่างดี และเราเคยสังเกตไหมว่าทำไมคนที่เก่ง ทั้งทางด้านสติปัญญา และมี IQ สูง เก่งในเรื่องการจัดการไม่ว่าจะในด้านอารมณ์ในการทำงาน และยังเป็นคนที่มี EQ ความฉลาดทางอารมณ์สูงไม่แพ้กัน แต่พวกเขาเหล่านั้นกลับยังไม่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานพอสมควร นั่นอาจเป็นเพราะว่า พวกเขายังขาดความฉลาดทางสังคม ซึ่งส่วนนี้ที่จะเป็นตัวช่วยปูทางสู่ความสำเร็จได้ 

คนที่มีนิสัยที่เป็นจุดแข็งทางด้านความฉลาดทางสังคม คือคนที่ยอมรับในความแตกต่างในแบบของคนแต่ละคน และมีทักษะในการตอบสนองต่อความแตกต่างกันได้ในหลายรูปแบบ ซึ่งแม้ว่าสิ่งที่กำลังทำความเข้าใจนั้นไม่ใช่สิ่งที่ตนเองชอบใจมากเท่าไหร่ แต่ก็พร้อมจะทำความเข้าใจ ซึ่งการทำความเข้าใจและยอมรับมุมมองความคิด หรือพฤติกรรมของคนในสังคมที่แตกต่างต่างกันของแต่ละบุคคลจัดว่าเป็นทักษะที่มีความสำคัญสามารถช่วยลดโอกาสในการเกิดความขัดแย้งระหว่างคนในสังคมขึ้นได้เป็นอย่างดีเลยก็ว่าได้ แต่อย่างที่ว่าถ้ามีมากเกินไปหรือน้อยเกินไปก็อาจจะหาสมดุลให้กับตนเองไม่ได้และอาจจะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตในการเข้าสู่สังคมนั่นเอง 

คนที่มีนิสัยที่เป็นจุดแข็งทางด้านความฉลาดทางสังคม คือคนที่ยอมรับในความแตกต่างในแบบของคนแต่ละคน และมีทักษะในการตอบสนองต่อความแตกต่างกันได้ในหลายรูปแบบ ซึ่งแม้ว่าสิ่งที่กำลังทำความเข้าใจนั้นไม่ใช่สิ่งที่ตนเองชอบใจมากเท่าไหร่ แต่ก็พร้อมจะทำความเข้าใจ ซึ่งการทำความเข้าใจและยอมรับมุมมองความคิด หรือพฤติกรรมของคนในสังคมที่แตกต่างต่างกันของแต่ละบุคคลจัดว่าเป็นทักษะที่มีความสำคัญสามารถช่วยลดโอกาสในการเกิดความขัดแย้งระหว่างคนในสังคมขึ้นได้เป็นอย่างดีเลยก็ว่าได้ แต่อย่างที่ว่าถ้ามีมากเกินไปหรือน้อยเกินไปก็อาจจะหาสมดุลให้กับตนเองไม่ได้และอาจจะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตในการเข้าสู่สังคมนั่นเอง 

ดังนั้น หากมีหรือให้ความสำคัญกับการที่ต้องมีความฉลาดทางสังคมมากจนเกินไป อาจส่งผลต่อบุคลิกและทักษะในการเข้าร่วมสังคม ที่ซึ่งในบางครั้ง บางช่วงเวลาอาจทำให้สูญเสียความเข้าใจในตนเอง และหากขาดความฉลาดทางสังคมมากจนเกินไปจะถูกมองว่าเป็นคนที่ขาดความเข้าใจต่อสถานการณ์หรือขาดความเข้าใจในตนเองหรือผู้อื่น ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อการอยู่ร่วมกันในสังคม และกลายเป็นคนที่เก็บตัวได้

ถ้าอยากมีความฉลาดทางสังคมต้องทำอย่างไรบ้างนะ?

ถ้าอยากมีความฉลาดทางสังคม เราสามารถพัฒนาได้ด้วยตนเอง ด้วยวิธีการหมั่นฝึกฝนทักษะดังต่อไปนี้ ขณะเดียวกันก็ควรเปิดใจให้กว้าง มีความเห็นอกเห็นใจต่อผู้อื่น มีความยืดหยุ่น และพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเสมอ

1. รู้สถานการณ์  คือความสามารถเข้าใจ และมีความฉลาดในการอ่านสถานการณ์และตีความพฤติกรรมของคนในแต่ละประเภทตามรูปแบบของสถานการณ์ และสามารถเรียนรู้วิธีในการรับมือต่อสภาวะที่เจอ และมีความยืดหยุ่นอย่างเหมาะสม

2. ความจริงใจ คือพฤติกรรมที่ทำให้คนอื่นตัดสินว่าคุณเป็นคนซื่อสัตย์ เปิดเผย และเป็น “คนจริงใจ” โดยแท้จริง คนเราไม่ว่าจะคบกับใคร จะคบกันในสถานะไหนเรื่องของ “ความจริงใจ” เป็นสิ่งสำคัญที่สุดยิ่งถ้าจะให้คำว่าจริงใจมีมากขึ้นมันต้องออกมาในรูปแบบของการที่เราให้ความจริงใจใครไปผลที่กลับมาก็คือความจริงใจที่ตอบกลับมา แบบนั้นก็ย่อมทำให้เรารู้สึกดี และความจริงใจที่ได้รับกลับมานี้แหละค่ะจะเป็นเสมือนกำลังใจ ที่จะทำให้เราทำสิ่งดีๆ กับคนอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น

3. ความเห็นอกเห็นใจ คือการเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ถ้าจะให้อธิบายสั้นๆนั้นก็คือการเอาใจเขามาใส่ใจเรา หรือก็คือการพยายามเข้าใจสถานการณ์ มุมมองและความรู้สึกของอีกฝ่าย และเรียนรู้ที่จะสื่อสารความเข้าใจนั้นให้อีกฝ่ายได้รับรู้เพราะฉะนั้นแล้วทักษะการเห็นอกเห็นใจผู้อื่น นอกจากจะเป็นทักษะสำคัญในการเข้าสังคมแล้ว ยังเป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินชีวิตอีกด้วยค่ะ

4. ไม่ด่วนตัดสินคน คือคนที่มีความฉลาดทางสังคมจะไม่ตัดสินคนจากหน้าตา จากฐานทางสังคม เช่น คนจน คนรวย แต่ให้เกียรติเท่าเทียมกันทุกคน ไม่ว่าจะคนคนนั้นจะทำงานหรือจะประกอบอาชีพอะไรก็แล้วแต่ เพราะคนจนในวันนี้ อาจเป็นคนรวยในอีกข้างหน้าก็ได้ อย่าตัดสินคนอื่นแต่เพียงแค่ภายนอก ให้มองลึกลงไปถึงจิตใจของพวกเขานั้นเองค่ะ

5. เป็นผู้ฟังที่ดี คือการฟังอย่างให้เข้าใจอย่างแท้จริงเป็นการฟังที่ทำให้เราสามารถช่วยคนที่อยู่ข้างหน้าเราที่กำลังมีความทุกข์ หรือมีปัญหา ไม่ว่าจะคนรอบข้าง ครอบครัว หรือความสำคัญในการสื่อสาร การทำงานร่วมกัน ภาวะความเป็นผู้นำ จนถึงความสำคัญเชิงจิตวิญญาณนั่นเอง สำหรับคนที่มีความฉลาดทางด้านสังคมสูง เขาจะฟังและคิดตาม คิดแบบไม่เอาความรู้สึกหรืออารมณ์ส่วนตัวใส่เข้าไปร่วมด้วย ซึ่งคนจำนวนมากมักนำเรื่องราวของตัวเองมากั้นระหว่างฟังจึงกลายเป็นว่า “ได้ยิน แต่ ไม่ได้ฟัง” ถึงเรื่องที่ผู้พูดต้องการที่จะสื่อออกไป

ดังนั้นแล้ว ทักษะในด้านความฉลาดทางสังคม สามารถพัฒนาให้ดีขึ้นได้ ด้วยการไม่เมินเฉยกับคนที่เราเจอ ทำความเข้าใจในตัวพวกเขาหรือคนรอบข้างตั้งใจฟังในทุกๆ บทสนทนา คอยให้ความช่วยเหลือกับคนที่มีปัญหา และองค์กรยังสามารถสนับสนุนให้พนักงานเป็นคนที่มีความฉลาดทางสังคม  ได้เช่นกัน ไม่ใช่เพียงแค่ปล่อยให้พนักงานฝึกฝนด้วยตัวเอง อาจจะมีการที่ว่าจัดกิจกรรมเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในองค์กร และให้พนักงานได้มีส่วนร่วม ก็ถือว่าเป็นส่วนช่วยในการพัฒนาทักษะด้านนี้ได้ เพราะการที่เราจะประสบความสำเร็จในโลกที่มีแต่ความแตกต่างและหลากหลาย เราไม่อาจเดินไปในเส้นทางได้ด้วยตัวคนเดียว เพราะเรายังจะต้องมีคนที่รักและเข้าใจเราเช่นกันค่ะ

หากต้องการอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับสติปัญญา Intelligence คืออะไร? และสำคัญต่อการทำงานแค่ไหน ?

ทักษะสำคัญที่คนทำงานในยุค 2022 จำเป็นต้องมี

ในปัจจุบันเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเป็นอย่างมาก  และด้วยการพัฒนาระบบในการนำนำหุ่นยนต์มาทำงานแทนคนมากขึ้นเรื่อยๆ จึงส่งผลกระทบให้กับคนทำงานหรือคนในตลาดแรงงานหลายอาชีพที่มีความเสี่ยงสูงที่จะตกงานหรือถูกเลิกจ้าง  ดังนั้นการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆที่จำเป็นเพื่อความอยู่รอดเป็นสิ่งสำคัญในยุคสมัยนี้ และเพื่อพัฒนาทักษะให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกเทคโนโลยีในยุคปัจจุบัน ซึ่งโดยปัจจุบันทักษะ Hard Skills อย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอต่อการทำงานมากเท่าที่ควร และการมีทักษะทางด้าน Soft Skills จึงเป็นสิ่งที่จําเป็นในยุคดิจิทัลมากๆ ไม่ว่าคุณจะกำลังมองหางานใหม่หรือปรับปรุงประสิทธิภาพเพิ่มทักษะการทำงานที่ทำอยู่ก็ตาม

หากความเก่งมีความรู้ด้านทักษะที่ใช้ในการทำงาน เพียงอย่างเดียวนั้น ไม่เพียงพอต่อความต้องการของหน่วยงานต่อองค์กรหรือจะทำให้ชีวิตการทำงานประสบความสำเร็จก้าวหน้าได้อีกต่อไปแล้วในยุคนี้  จึงจำเป็นอย่างมากที่จะต้องมี ทักษะพิเศษนอกเหนือจากเทคนิกการทำงาน ที่เป็นทักษะด้านอารมณ์ ความสามารถในการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นและการพัฒนาตัวเองควบคู่ไปด้วยกับการทำงาน จึงจะเป็นคนทำงานที่หลายๆองค์กรต้องการและเป็นการต่อยอดแนวทางให้ชีวิตประสบความสำเร็จในสังคมการงานนั่นเอง

ทักษะพิเศษนอกเหนือจากเทคนิกการทำงาน จึงกลายมาเป็นทักษะสำคัญที่คนทำงานต้องมีเป็นอย่างมากในการทำงานภายใต้ยุคที่มีการก้าวไกลทางเทคโนโลยีในทุกวันนี้  ซึ่งเป็นยุคที่โลกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีทุกภาคส่วนแล้วนั้น จึงทำให้มนุษย์นั้นมีความแตกต่างจากการใช้หุ่นยนต์หรือ  AI ที่ถูกนำมาแทนที่แรงงานมนุษย์มากขึ้นทุกวันนี้ ดังนั้นในโลกการทำงานปัจจุบันจึงไม่ได้แข่งขันกันที่ความรู้ ความสามารถกันอย่างเดียวระหว่างมนุษย์กับมนุษย์เพียงเท่านั้น แต่ยังต้องแข่งขันกับหุ่นยนต์และเทคโนโลยีอีกด้วย และ ทักษะพิเศษนอกเหนือจากเทคนิกการทำงาน คือตัวช่วยที่จำให้ได้ในตำแหน่งงานที่เราต้องการ และรวมไปถึงความก้าวหน้าในหน้าที่การงานตามที่เรานั้นคาดหวังไว้

ดังนั้นแล้วทักษะทางด้านใดบ้างที่สำคัญที่คนทำงานในยุค 2022 อย่างเราๆ จำเป็นที่จะต้องมีและพัฒนาเพิ่มทักษะให้กับตนเองเพื่อความอยู่รอดและประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน วันนี้ทางเพจจึงอยากจะรวบรวมทักษะต่างๆที่จำเป็นต้องมีในยุคนี้ และได้นำมาแชร์ให้กับลูกเพจทุกคนได้รู้เพื่อที่จะได้นำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาตนเองในเรื่องงานต่อไปค่ะ

ทักษะ Soft Skills ที่สำคัญสำหรับคนทำงานยุค 2022 

1. ทักษะด้าน Technology  : คือการนำเทคโนโลยีมาใช้ในองค์กรเพื่อเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินการด้านธุรกิจ ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทั้งเครื่องมือที่เป็น Hardware หรือ Software ควรจะเข้าใจพื้นฐานในการใช้เครื่องมือเหล่านี้ว่าทำงานอย่างไร และสามารถนำมาเพิ่มทักษะและวิธีการประประยุกต์ใช้อย่างไรในงานได้บ้าง

2. ทักษะด้าน Digital Literacy : การเข้าใจเกี่ยวกับจริยธรรมในการใช้งานเทคโนโลยี และการนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อเป็นประโยชน์ทางธุรกิจรวมทั้งทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีในยุคดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบัน เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แท็บเล็ต โปรแกรมคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และสื่อสังคมออนไลน์ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการสื่อสาร รวมทั้งการปฏิบัติงาน และการทำงานร่วมกัน หรือใช้เพื่อรูปแบบของการทำงานในองค์กร ให้มีความทันสมัยและเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด โดยที่ทักษะต่างๆ นั้นมีความสำคัญมากต่อการใช้ชีวิตในสังคมยุคปัจจุบัน

3. ทักษะด้าน Critical Thinking : การคิดเชิงวิจารณ์ การคิดแบบมีหลักการเป็นเหตุเป็นผลเพื่อสามารถหาวิธีแก้ไขปัญหาได้อย่างดีที่สุด สามารถหาข้อสรุปของวิธีการแก้ปัญหาอย่างมีหลักที่ชัดเจน ถูกต้อง และชัดเจน สามารถเชื่อมโยงและเห็นถึงความเป็นจริงได้ได้ เช่นเดียวกับทำให้การโต้แย้งต่างๆ นั้นมีหลักการเสมอ ไม่ใช่การโต้แย้งโดยไม่มีเหตุผล และไม่สามารถเข้าใจได้

                   ดังนั้นทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ ไม่ต่างอะไรกับการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เพียงแต่ในยุคดิจิตอลของเรานี้ ที่เมื่อเราได้รับสารมา ข้อมูลที่ได้ก็อาจจะเป็นข้อมูลเกินความจริงไปแล้วมากๆ การฝึกทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ จะทำให้เราไม่เชื่ออะไรง่ายๆ จะทำให้เราเกิดการตั้งคำถาม นำไปสู่การเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องตามความเป็นจริง นำไปสู่การประเมิน การแก้ไขปัญหา และการตัดสินใจที่แม่นยำ

4. ทักษะด้าน Self-Management : การจัดการตนเองที่มีประสิทธิภาพเริ่มต้นด้วยจากความฉลาดทางอารมณ์ คือ การที่เราสามารถทำความเข้าใจในความคิด ความรู้สึกของตนเองและจัดการกับความคิดและความรู้สึกดังกล่าวได้อย่างดี อย่างสร้างสรรค์และมีความสุขในการใช้ชีวิต การที่เรารู้จักที่จะใช้ความฉลาดทางอารมณ์ของตนเองยังช่วยให้เราสามารถพัฒนาและใช้ศักยภาพของตนเองในการทำงานและการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม สามารถเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของตนเอง, เข้าใจจุดแข็งของตนเองและสามารถสร้างแรงจูงใจให้กับตนเองทำงานได้บรรลุตามเป้าหมาย

5. ทักษะด้าน Interpersonal Skills : หนึ่งใน Soft skills ที่สำคัญมีความจำเป็นต่อการทำงานอีกอย่างหนึ่ง เป็นทักษะในการมีปฏิสัมพันธ์ จะต่อเพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน หรือลูกค้า ก็ตาม ที่ใช้เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แลกเปลี่ยนบทสนทนาพูดคุยระหว่างกัน ซึ่งคนเก่ง คนที่มีไอคิวสูง หรือคนประเภท Introvert (หรือมีโลกส่วนตัวสูง) มักจะขาดทักษะการสื่อสารกับผู้อื่น ดังนั้นแล้วทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคล ยังรวมถึงทักษะการความเข้าใจผู้อื่น ความมีน้ำใจ ความเห็นอกเห็นใจต่อผู้อื่น การเข้าใจความแตกต่างของคนอื่น ไม่เอาตัวเองเป็นที่ตั้ง ต้องสื่อสารกับผู้อื่นเข้าใจ เอาใจเขามาใส่ใจเรา เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และในตำแหน่งและหน้าที่ของพนักงานบางคนในองค์กรจึงจำเป็นอย่างมากที่จะต้องใช้ทักษะการพูดคุยระหว่างบุคคลมากกว่าตำแหน่งอื่นๆ โดยมากเป็นตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับการพบเจอผู้คนเช่น ฝ่ายทรัพยากรบุคคล หัวหน้างาน พนักงานขาย เป็นต้น

6. ทักษะด้าน Leadership : การมีภาวะผู้นำ มีความสามารถในการนำทีม สามารถแบกความรับผิดชอบของงานและลูกน้องในทีมได้ คอยชี้แนะให้คำแนะนำและสั่งการผู้อื่นได้ และในขณะเดียวกันก็สามารถสร้างแรงบันดาลใจและมอบพลังให้กับคนในทีมให้พร้อมที่จะมุ่งมั่นและทุ่มเทในการทำงานเพื่อองค์กร 

หากต้องการอ่านบทความเกี่ยวกับความฉลาดทางอารมณ์ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ Social Intelligence ความฉลาดทางด้านสังคม

“Iceberg Competency” ความสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม

Iceberg Competency คืออะไร?

Iceberg Competency คืออะไร? วันนี้ Trust Vision เรามีคำตอบให้ค่ะ  ” Competency ” หรือที่เรียกว่า ” สมรรถนะ ” คือกลุ่มความรู้ ความสามารถ ความคิด หรือทัศนคติที่ส่งผลทางด้านพฤติกรรม ที่มีต่อการทำงาน การมีสมรรถนะที่พร้อมนั้นจะสร้างผลการปฏิบัติงานที่ยอดเยี่ยม ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในงาน ทั้งยังสามารถพัฒนางานที่ตนรับผิดชอบให้มีประสิทธิผลขึ้นอีกด้วยเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายที่องค์กรตั้งไว้ หลายครั้งที่ในองค์กรหรือบริษัท จะมีการกำหนดในส่วน  Competency หลักเพื่อให้สอดคล้องกับ วิสัยทัศน์  หรือเป้าหมายที่ทางองค์กรกำหนดขึ้น  ซึ่งทางองค์กรเหล่านี้จะใช้  Competency นี้ ในการคัดเลือกพนักงานให้ตรงกับความต้องการของตำแหน่งงานและตรวจตามความต้องการหลักของบริษัท เพื่อใช้ในการประเมินผลงานของพนักงาน และการวางแผนในการพัฒนาศักยภาพของพนักงานในองค์กร เพื่อที่จะได้เป็นไปในทิศทางเดียวกันตามที่กำหนดเป้าหมายไว้ และยังเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้พนักงานได้ทราบถึง ความสามารถของตนเอง ว่าอยู่ในระดับไหน เหมาะสมกับตำแหน่งงานที่ทำหรือไม่ และจะต้องพัฒนาตนเองไปในทิศทางใด เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่ทางองค์กรกำหนด 

หลายครั้งที่หลายองค์กร มีการวัดประสิทธิภาพของการทำงานจากการที่ว่า คนที่มีความรู้ (Knowledge)  และทักษะ ( Skill) ในการทำงานที่ดีคือคนที่ฉลาด หรือคือคนที่ทำงานเก่ง จนในบางครั้งอาจจะมีการหลงลืมไปว่า การเป็นคนทำงานที่มีทัศนคติที่ดี (Attitude) ในการทำงานก็คือเป็นหัวใจสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามไปเลยก็ว่าได้ อย่างที่ว่าหลายคนที่เคยโดนมองข้ามการทำงานที่มาจากแรงจูงใจ หรือความเชื่อของตนเอง จนถูกปิดกั้นโอกาสในการคิดสิ่งใหม่ๆ เพียงแค่ถูกมองว่าเป็นไปไม่ได้

ดังนั้น ตามหลัก Core Competency ที่ทางเพจ Trust-Vision ที่ต้องการสื่อสารออกไปเพื่อไม่ให้บางสิ่งบางอย่างถูกมองข้ามหรือถูกละเลยมากจนเกินไป วันนี้ทางแอดมินเลยอยากจะมาพูดถึงหลัก “Iceberg Competency ความสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม” ตามแบบฉบับของ Trust-Vision มาแชร์ให้กับทางลูกเพจได้ทำความเข้าใจกันค่ะ

Iceberg Competency Model for Career and Job แบบจำลองภูเขาน้ำแข็งด้าน สมรรถนะ

สำหรับอาชีพ และสายงาน

Competency Easier to Change สมรรถนะที่แก้ไขได้ง่าย

            เมื่อพูดถึงหลัก Core Competency ตามหลักสมรรถนะที่แก้ไขได้ง่ายในการทำงาน คงเป็นในเรื่องของการพัฒนาในเรื่อง (Knowledge) ความรู้ คนทำงานอย่างเราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับความรู้ใหม่ๆในวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง ประสิทธิภาพในการทำงานของหลาย ๆ คน คือการวัดว่าเราสามารถทำงานได้ดีและถูกต้องด้วยวิธีที่ดีที่สุดที่และเป็นไปได้ และงานที่ทำนั้นตรงตามเป้าหมายของทั้งบริษัทและตัวเอง ซึ่งต้องคำนึงถึงทั้ง Input และ Output หรือผลลัพธ์ที่ได้ว่ามีคุณภาพมากขนาดไหน การค้นคว้าหาความรู้ และสามารถสร้างความรู้ใหม่เพิ่มเติมได้อาจจะมาจากการคิด การศึกษา การทดลอง การค้นคว้าหรือปฏิบัติด้วยตนเอง แล้วนำมาวิเคราะห์เพื่อให้เกิดความรู้ใหม่อยู่เสมอๆ คนที่ประสบความสำเร็จได้ในทุกๆวันนี้ คือคนที่เขาไม่หยุดที่จะพัฒนาตนเอง ไม่ทำตัวเป็นน้ำเต็มแก้ว เพราะพวกเขาพร้อมที่จะเรียนรู้ในสิ่งที่ไม่รู้อยู่อย่างเสมอ เพื่อนำมาปรับใช้ในการทำงานของตนเองให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานให้ได้มากที่สุดนั่นเอง

Competency Harder to Change สมรรถนะที่แก้ไขได้ยาก

            เมื่อพูดถึงหลัก Core Competency ตามหลักสมรรถนะที่แก้ไขได้ยากในการทำงาน คงเป็นในเรื่องของ Skills (ทักษะ) องค์กรต้องมีชุดทักษะในสายงานแต่ละอาชีพ ที่เป็นทักษะเฉพาะที่จำเป็น เพราะนอกจากที่เราจะให้ความสำคัญของเรื่อง Hard Skill แล้วยังมีอีกหนึ่งทักษะที่สำคัญไม่แพ้กันอย่างทักษะด้าน Soft Skill นั่นเอง การทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่าง Soft Skill กับ Hard Skill และเหตุผลที่ Soft Skill มีความสำคัญอย่างยิ่ง เป็นสิ่งจำเป็นในการสร้างทีมและองค์กรที่แข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย

            Soft Skill ที่สำคัญที่สุดคืออะไร Soft Skill เป็นมากกว่าทักษะของผู้คนและทัศนคติเชิงบวก ไม่มี Soft Skill ใดที่สำคัญที่สุดเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีอีกหลายทักษะที่จำเป็นที่คนทำงานอย่างเราๆจะต้องให้ความสำคัญละไม่ควรมองข้ามไป อย่างเช่น

  1. ความฉลาดทางอารมณ์

    ความฉลาดทางอารมณ์นั้นถือเป็นเรื่องที่สำคัญมากเลยก็ว่าได้ในการทำงาน เพราะเราจะต้องร่วมงานกับคนที่มีความหลากหลายทางด้านความคิด คนที่มีทัศนคติที่แตกต่างจากเรา และสิ่งนี้ได้รวมเอาลักษณะสำคัญหลายอย่างของ Soft Skill ไว้ ตั้งแต่การแก้ปัญหาความขัดแย้งในการทำงาน ไปจนถึงทักษะทางสังคม การตระหนักรู้ในตนเอง ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นและความเข้าใจผู้อื่น

  1. การสื่อสารที่ดี

    ทักษะการสื่อสารมีความสำคัญอย่างยิ่งในที่ทำงาน การสื่อสารออกไปจะต้องมีความชัดเจนและเข้าใจได้ง่าย มีความตรงไปตรงมาต่อผู้รับสาร การสื่อสารที่ดีไม่ใช่เพียงเพื่อช่วยสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดีหรือสร้างความเป็นมิตร แต่เพื่อให้มั่นใจว่างานทีเรานั่นทำตรงประเด็นและมีชัดเจนนั่นเองค่ะ

  1. การแก้ปัญหาและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

    ทักษะการแก้ปัญหาคือสิ่งที่มาพร้อมกับความยืดหยุ่นและความคิดสร้างสรรค์ เป็นความสามารถในการวิเคราะห์แยกแยะปัญหาและดำเนินการทันทีเมื่อรู้ว่าปัญหาที่มีเกิดจากอะไรเพื่อที่จะได้รู้วิธีในการแก้ปัญหาดังกล่าวให้ได้อย่างสมเหตุสมผล

Competency Very Harder to Change สมรรถนะที่แก้ไขได้ยากมาก

            เมื่อพูดถึงหลัก Core Competency ตามหลักสมรรถนะที่แก้ไขได้ยากมากในการทำงาน คงจะหนีไม่พ้นเรื่องของ Competency ( สมรรถนะ ) องค์กรต้องมีชุดสมรรถนะในสายงานแต่ละระดับที่จำเป็น ที่เป็นสมรรถนะด้านพฤติกรรมอย่างที่ทุกท่านทราบในเนื้อหาข้างต้น Competency คือการเสริมสร้างสมรรถนะในการทำงานให้กับบุคลากรในองค์กร เพื่อผลักดันองค์กรให้ไปถึงเป้าหมายได้เร็วมากยิ่งขึ้น มุ่งเน้นการพัฒนาเรื่อง ความรู้ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของแต่ละบุคคล โดยมี Framework ในการพัฒนาบุคลากร เพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งองค์กรและง่ายต่อการพัฒนาบุคลากร เพราะองค์กร อาจมีปัญหาในเรื่อง ไม่สามารถได้บุคคลที่ต้องการ ไม่สามารถรักษาบุคลากรที่ดี ดังนั้นองค์กรจำเป็นที่จะต้องมีชุดประเมินสมรรถนะในสายงานที่จำเป็นและให้ความสำคัญในเรื่องของ Competency เป็นอันดับแรกเสมอๆค่ะ

ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นทักษะในด้านใดไม่ว่าจะทั้งด้านความรู้ในการทำงาน ทักษะในการทำงาน หรือแม้แต่ในเรื่องของทัศนคติ เรื่องที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้นถือเป็นหัวใจหลักที่สำคัญมากอย่างหนึ่งในการทำงาน ไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากจนเกินไปจนละเลย หรือมองข้ามในบางเรื่องที่สำคัญเช่นเดียวกัน และเป็นเรื่องที่หลายๆคนจะต้องให้ความใส่ใจและนำมาปรับใช้พัฒนาในตนเองเพื่อที่จะส่งผลให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่องค์กรตั้งไว้

สามารถศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ Competency คลิ๊กลิงก์ Competency พัฒนาบุคลากรในองค์กรอย่างไร ?

Before you start anything, learn how to finish it. ก่อนที่คุณจะเริ่มลงมือ ให้เริ่มเรียนรู้วิธีทำให้สำเร็จก่อน

Before you start anything, learn how to finish it

 Before you start anything, learn how to finish it หรือ ความหมายภาษาไทย ก่อนจะเริ่มทำอะไร จงเรียนรู้วิธีทำให้เสร็จก่อน ก่อนอื่นต้องขอพูดถึงการทำงาน การทำงานอาจจะเรียกได้ว่าเป็นแทบทั้งชีวิตคนเราเลยก็ว่าได้ เพราะชีวิตคนเราหลังจากเรียนจบก็จะต้องคลุกคลีอยู่กับงานอยู่แล้วทั้งชีวิต ดังนั้น อย่าปล่อยให้ช่วงเวลาการทำงานของเรานั้นได้ผ่านไปวันๆ เลย เพราะในการทำงานนั้น ไม่ว่าเราจะอยู่หรือทำหน้าที่เป็นไหน แผนกไหน หรือตำแหน่งไหนก็ตาม ความสำเร็จในการทำงานของคนบางคนอาจไม่ได้มาจากอะไรที่พิเศษกว่าคนอื่น แต่ต้องมีการอาศัยว่าเป็นคนที่ใฝ่หาความรู้ ใฝ่เรียนรู้ และขยันสร้างความชำนาญ สร้างทักษะใหม่ ๆ ด้วยตนเองเพื่อให้ตัวเองนั้นสามารถประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานได้ และบ่อยครั้งเสมอที่คนทำงานในทุกวันนี้ได้ประสบปัญหางานล้นมือ ทำงานไม่ทันเวลาตามที่กำหนด จนต้องมานั่งปั่นหามรุ่งหามค่ำ และส่งงานเอาในนาทีสุดท้ายเสมอ แล้วใครบ้างที่ไม่เคยผลัดวันประกันพรุ่งทักษะการบริหารจัดการเวลานั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นในการทำงานไม่ว่าคุณจะทำงานที่ใดก็ตาม 

การทำงานอาจจะเรียกได้ว่าเป็นแทบทั้งชีวิตคนเราเลยก็ว่าได้ เพราะชีวิตคนเราหลังจากเรียนจบก็จะต้องคลุกคลีอยู่กับงานอยู่แล้วทั้งชีวิต ดังนั้น อย่าปล่อยให้ช่วงเวลาการทำงานของเรานั้นได้ผ่านไปวันๆ เลย เพราะในการทำงานนั้น ไม่ว่าเราจะอยู่หรือทำหน้าที่เป็นไหน แผนกไหน หรือตำแหน่งไหนก็ตาม ความสำเร็จในการทำงานของคนบางคนอาจไม่ได้มาจากอะไรที่พิเศษกว่าคนอื่น แต่ต้องมีการอาศัยว่าเป็นคนที่ใฝ่หาความรู้ ใฝ่เรียนรู้ และขยันสร้างความชำนาญ สร้างทักษะใหม่ ๆ ด้วยตนเองเพื่อให้ตัวเองนั้นสามารถประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานได้ และบ่อยครั้งเสมอที่คนทำงานในทุกวันนี้ได้ประสบปัญหางานล้นมือ ทำงานไม่ทันเวลาตามที่กำหนด จนต้องมานั่งปั่นหามรุ่งหามค่ำ และส่งงานเอาในนาทีสุดท้ายเสมอ แล้วใครบ้างที่ไม่เคยผลัดวันประกันพรุ่งทักษะการบริหารจัดการเวลานั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นในการทำงานไม่ว่าคุณจะทำงานที่ใดก็ตาม 

ในการทำงานในองค์กร “ทีม” คือสิ่งสำคัญที่ช่วยให้งานก้าวไปข้างหน้าได้เร็วและ “การส่งมอบงานทีมมีประสิทธิภาพ” ก็คือหัวใจสำคัญที่ต้องใช้ทั้งแรงกายและแรงใจในการทำงานเพื่อให้ผลงานออกมามีประสิทธิภาพมากที่สุด มีข้อผิดพลาดที่น้อยที่สุด หรือห้ามมีแม้กระทั่งข้อผิดพลาดเลยก็ว่าได้ แต่บางคนยังคิดว่าการส่งมอบงานเป็นแค่เรื่องง่าย ๆ ที่พอได้รับคำสั่งแล้วก็แค่ลงมือทำตามหลักขั้นตอนที่มีอยู่แล้ว ไม่ใช่เรื่องยากอะไรที่จะต้องมาเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่เสมอไป แต่ในหลายๆครั้งที่เราอาจไม่ได้มองถึงรายละเอียดปลีกย่อยอื่น ๆ ให้รอบด้าน ทำให้หลายครั้งงานผิดพลาดและไม่มีประสิทธิภาพมากพอ กลายเป็นต้องมาเสียเวลาซ้ำซ้อนกันทั้งหัวหน้าและลูกน้องเลยทีเดียว

และเพื่อให้งานออกมามีคุณภาพมากกว่าความผิดพลาดในแต่ละวันบทความนี้ ทางแอดมินขอมอบเทคนิคที่สามารถนำไปปรับใช้เพื่อให้คนทำงานสามารถมีวิธีในการเรียนรู้วิธีการจบงานที่ดี และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

วิธีการเตรียมพร้อมการทำงานให้ประสบความสำเร็จ

  1. วางแผนกับงานที่ได้รับมอบหมาย

     ก่อนอื่นเมื่อเราได้รับงานมาแล้ว ลองนำโจทย์งานที่ได้รับมานั่งวิเคราะห์แล้ววางแผนในเนื้องานว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไรต่อได้บ้าง หากงานยากต้องหาข้อมูลในการทำการบ้านเพิ่มมากขึ้นมาหน่อย ก็ตั้งใจหาข้อมูลโดยละเอียด มาอ่านอย่างเข้าใจและวางแผนการดำเนินงานในแต่ละขั้นละตอนอย่างเป็นระบบ อาจกำหนดช่วงเวลาในแต่ละตอนว่าหมดไปกี่ชม. ในแต่ละวันว่ามีการจัดการได้อย่างไรบ้าง งานต้องเสร็จไปกี่ลำดับขั้นตอนหรือกี่เปอร์เซ็นต์แล้ว จะทำให้เรามีสติและทำตามเป้าได้บรรลุรวดเร็วยิ่งขึ้น

  1. ลงมือทำตามแผนงานแต่ละขั้นตอน

    หลังจากที่เรานั้นได้วางกำหนดการ การวางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบเอาไว้แล้ว จากนั้นต้องรีบลงมือทำงานในแต่ละแผนที่วางเอาไว้ทันที จนกระทั่งหมดทุกแผนงานที่เราได้วางไว้ ข้อดีของการทำงานตามแผนที่วางแบบนี้ จะทำให้เรานั้นทำงานได้รวดเร็วและประสบผลสำเร็จกับงานในแต่ละวันได้อย่างรวดเร็วและราบรื่นขึ้น ทำให้เรานั้นมีผลงานดีและมาพร้อมคุณภาพที่จะไปเสนองานต่อลูกค้าหรือหัวหน้างานได้อย่างรวดเร็ว

  1. พัฒนาทักษะอยู่เสมอ

     ถ้าเรานั้นต้องการหลุดพ้นจากสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เพื่อไปสู่สิ่งที่ดีตามเป้าหมายที่กำหนดไม่ได้ หากเราไม่สามารถทราบว่าตัวเองต้องการอะไร ให้ลองพุ่งถึงความสนใจทั้งหมดไปเพื่อสิ่งๆ นั้นเพื่อเป็นการพัฒนาทักษะของตัวเองให้เป็นรู้ทุกด้าน ต้องมีความตั้งใจอย่างมาก มีจิตใจที่แน่วแน่ในสิ่งที่จะลงมือทำ และเมื่อครบตามกำหนดเป้าหมายที่ตั้งไว้แล้วและแน่นอนว่าเชื่อว่าเราก็จะเป็นอีกคนที่ประสบความสำเร็จในงานตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

  1. ทำให้มากกว่าสิ่งที่ต้องการ

      การทำงานในหน้าที่ของตัวเองนั่นคือสิ่งที่ดี แต่ถ้าจะให้ดีกว่านั้นคือการทำงานที่นอกเหนือจากความรับผิดชอบ และยิ่งถ้าเราอาสาที่จะทำงานนั้นที่เป็นงานใหม่และมีความท้าทายที่สูง ถือเป็นการพัฒนาทักษะในสายงานของเราเองด้วย และถ้าหากเราไม่ได้เป็นเจ้าของกิจการ หรือหัวหน้างาน การกระทำเหล่านี้จะช่วยสร้างความประทับใจให้กับหัวหน้าคุณอีกด้วย

  1. อย่ายอมแพ้ในสิ่งต่างๆ

     บางครั้งทางที่เราเลือกเดินอาจไม่ใช่ทางที่ถูกต้อง แต่เราต้องไม่ยอมแพ้ พยายามค้นหาสิ่งใหม่ๆอยู่อย่างสม่ำเสมอ แม้จะผิดพลาดไปบ้าง แต่เราต้องพร้อมที่จะก้าวต่อไปข้างหน้าเพื่อให้เราเป็นไปตามเป้าหมายตามที่เรากำหนดไว้อย่างเป็นขั้นตอน

  1. มีที่ปรึกษา

     มีไม่น้อยที่ประสบความสำเร็จได้เพราะมีที่ปรึกษาที่ดี ซึ่งที่ปรึกษาเหล่านี้ก็พร้อมจะถ่ายทอดประสบการณ์ต่างๆ ของพวกเขาให้เราได้รับรู้ การฟังคำแนะนำจากผู้ที่มีประสบการณ์มาก่อนย่อมช่วยให้เราตัดสินใจเรื่องบางเรื่องได้ดีขึ้นและยังได้นำมาเพิ่มทักษะประสบการณ์ให้กับตนเองในเรื่องงาน

ดังนั้น ก่อนที่เราจะเริ่มลงมือทำอะไรให้ประสบความสำเร็จ ให้เราลองกลับมามองถึงขั้นตอนหรือวิธีในการที่จะลงมือทำว่าเราสามารถจัดการงานได้ด้วยวิธีใดบ้าง เพื่อให้งานนั้นออกมาดีและตรงไปตามเป้าหมายที่ทางเราต้องการ และการจัดการวางแผนงานให้ตนเองให้ดี สิ่งนี้จะเป็นสิ่งที่สามารถต่อยอดในการทำงานหรือการส่งมอบงานให้ดีและมีประสิทธิภาพ เพื่อผลักดันให้เราประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ และตามเป้าหมายขององค์กรของเราเอง 

สามารถเรียนวิธีการตั้งเป้าหมายได้ที่ Step Goal ให้ประสบความสำเร็จด้วย 5 วิธี

Happy My Job to My Love งานอะไรที่ทำให้คุณใจสั่น

Happy My Job to My Love

  Happy My Job to my Love สวัสดีลูกเพจ Trust-Vision ทุกๆ คนเลยนะคะ นี่ก็ใกล้จะถึงวันวานแห่งความรัก เทศกาลที่คู่รักหลายๆ คู่รอคอยในการบอกรัก หรือเป็นโอกาสในการมอบของขวัญอันแสนวิเศษให้กับคู่รักของตนเอง อย่างวันวาเลนไทน์นั่นเองค่ะ ในเมื่อใกล้ถึงวันแห่งความรักที่นอกจากจะมีการบอกรักกันแล้ว มีหรอคะ? ที่ทางเพจ Trust-Vision ของเราจะพลาดที่จะมาบอกรักกับทุกคนให้รู้สึกใจเต้น ใจสั่นกัน แต่….มีหรอคะที่ทางเราจะบอกรักกันแบบธรรมดาๆ อย่างออฟฟิศสายเฟียส สายฮาอย่างเราๆ วันนี้ทางแอดมินเลยอยากจะส่งต่อมอบความรักดีๆ ที่ได้ฟังแล้วใจสั่นทู๊กกกกทีมาฝากลูกเพจกันค่ะ อย่างวลีเด็ดที่ว่า….

My job to My love วาเลนไทน์ วาเลนใจ ได้ยินเสียงหัวหน้าทีไรใจสั่นทุกกกกที!

ถ้าลูกเพจทุกคนพร้อมรับความรักจากทางเราแล้วละก็ ทางแอดมินก็ไม่รอช้าขอส่งต่อประโยคบอกรักเด็ดๆ ที่ชาวออฟฟิศอย่างเราๆ ได้ฟังแล้วใจสั่นกันไปทั่วหน้ามาฝากกันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วไปใจสั่นพร้อมกันได้เลยค่ะ

ว่ากันว่า, งานที่เราทำ คือ สิ่งที่บ่งบอกถึงไลฟ์สไตล์ของเรา

          การทำงานเป็นเหมือนตัวขับเคลื่อนสีสันให้กับชีวิต หากใครมีความสุขกับงานที่ทำ ความสุขนั้นก็จะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันด้วยเช่นกัน ไม่ว่างานนั้นจะมาในรูปแบบไหนก็ตาม แต่อย่างน้อยมันก็ทำให้ใครหลายคนมองเห็น ‘เป้าหมาย’ ของตัวเองที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ในทางกลับกันคนหลายคนก็ไม่มีความสุขกับงานที่ทำเอาเสียเลย บ้างก็โทษเพื่อนร่วมงาน บ้างก็โทษสถานที่ทำงาน บ้างก็โทษตัวงาน และบ้างก็โทษหัวหน้า…จึงทำให้ใครหลายคนขยันเปลี่ยนงานกันเป็นว่าเล่น แต่น้อยคนนักที่จะหันกลับมาชำเลืองมองตัวเอง แล้วคิดว่าอันที่จริงแล้ว…จะสุขหรือไม่สุข ก็ล้วนแต่อยู่ที่ตัวเราเองทั้งนั้น

....สุดท้ายนี้เนื่องในเทศกาลแห่งความรัก ทางแอดมินก็ขออวยพรให้กับลูกเพจของเราทุกคนได้พบกับความรักที่บริสุทธิ์ ความรักที่แท้จริง ไม่ว่าจะจากคู่รัก ครอบครัวหรือแม้แต่มิตรแท้ ก็ขอให้ทุกๆ คนมีความสุขเนื่องในเทศกาลนี้ด้วยนะคะ.... Happy Valentine's Day ค่ะ 🙂

สามารอ่าน content ที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ “Iceberg Competency” ความสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม

“ Curiosity ” เพราะความอยากรู้ การเรียนรู้สิ่งใหม่จึงเริ่มขึ้น!

Curiosity เพราะความอยากรู้ การเรียนรู้สิ่งใหม่จึงเริ่มขึ้น

 ความอยากรู้ ( Curiosity ) คือคุณลักษณะของผู้ที่มีความอยากรู้อยากเห็นสิ่งใหม่ และมีความสนใจที่จะแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอยู่เสมอ ความอยากรู้อยากเห็นหรือความสงสัย ความต้องการหรือความปรารถนาที่จะรู้ เป็นแรงผลักดันที่ทำให้เราออกไปค้นหาความแปลกใหม่หรือสร้างองค์ความรู้ต่าง ๆ บุคคลที่มีความอยากรู้อยากเห็นจึงมักจะชอบออกไปสำรวจหาไอเดียใหม่ ๆ ออกไปหาประสบการณ์ที่ไม่ซ้ำเดิม นอกจากนั้นยังมีความต้องการที่จะเพิ่มความรู้ให้กับตัวเอง

 การเกิดขึ้นของสิ่งใหม่ตลอดเวลาในยุคปัจจุบัน ส่งผลให้องค์กรต่างๆ มีความคาดหวังให้บุคลากรมีความรู้และทักษะใหม่ เพื่อพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ซึ่งกระตุ้นให้คนวัยทำงานอย่างเราต้องให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างความรู้และพัฒนาทักษะใหม่ๆ ตลอดเวลา ความรู้ต่าง ๆ อยู่รอบตัวเราเสมอ และการเรียนรู้ก็เป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิต คนทำงานทุกคนคงไม่มีใครอยากย่ำอยู่กับที่ ไม่พัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นกว่าเดิม เพราะเราสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เพื่อนำมาปรับใช้ในทุกวันของการทำงานและองค์กรทุกวันนี้ก็ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรอยู่ไม่น้อย เพื่อให้พนักงานได้มีโอกาสพัฒนาฝีมือและสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

การเกิดขึ้นของสิ่งใหม่ตลอดเวลาในยุคปัจจุบัน ส่งผลให้องค์กรต่างๆ มีความคาดหวังให้บุคลากรมีความรู้และทักษะใหม่ เพื่อพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ซึ่งกระตุ้นให้คนวัยทำงานอย่างเราต้องให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างความรู้และพัฒนาทักษะใหม่ๆ ตลอดเวลา ความรู้ต่าง ๆ อยู่รอบตัวเราเสมอ และการเรียนรู้ก็เป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิต คนทำงานทุกคนคงไม่มีใครอยากย่ำอยู่กับที่ ไม่พัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นกว่าเดิม เพราะเราสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เพื่อนำมาปรับใช้ในทุกวันของการทำงานและองค์กรทุกวันนี้ก็ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรอยู่ไม่น้อย เพื่อให้พนักงานได้มีโอกาสพัฒนาฝีมือและสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

1. ยิ่งเรียนรู้ ยิ่งได้

การเกิดขึ้นของสิ่งใหม่ตลอดเวลาในยุคปัจจุบัน ส่งผลให้องค์กรต่างๆ มีความคาดหวังให้บุคลากรมีความรู้และทักษะใหม่ เพื่อพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ซึ่งกระตุ้นให้คนวัยทำงานอย่างเราต้องให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างความรู้และพัฒนาทักษะใหม่ๆ ตลอดเวลา ความรู้ต่าง ๆ อยู่รอบตัวเราเสมอ และการเรียนรู้ก็เป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิต คนทำงานทุกคนคงไม่มีใครอยากย่ำอยู่กับที่ ไม่พัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นกว่าเดิม เพราะเราสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เพื่อนำมาปรับใช้ในทุกวันของการทำงานและองค์กรทุกวันนี้ก็ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรอยู่ไม่น้อย เพื่อให้พนักงานได้มีโอกาสพัฒนาฝีมือและสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

2. ยิ่งเรียนรู้ ยิ่งแข่งขันได้

โลกการทำงานปัจจุบันมีการแข่งขันสูงมากขึ้น หากเรามีความสามารถในระดับธรรมดา แน่นอนว่าสักวันหนึ่งอาจมีใครขึ้นมาแทนที่เราก็ได้ เพราะการที่เราทำแต่ในสิ่งที่คนอื่นก็ทำได้ ถือเป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งในการทำงาน เพราะหากวันหนึ่งเงินเดือนเราสูงมากขึ้น หลายๆองค์กรอาจจะเลือกมองหาเด็กรุ่นใหม่ที่มีความสามารถใกล้เคียงกันกับเราที่ไม่ได้มีการจ่ายเงินเดือนที่สูงเท่าเรา แถมเด็กรุ่นใหม่พร้อมเรียนรู้งานและมีไฟในการทำงานมากกว่า มาแทนที่เราได้ตลอดเวลา ดังนั้นการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ฝึกฝนทักษะเพิ่มความสามารถและนำมาปรับใช้ในการทำงานได้ ก็จะทำให้เรามีความสามารถพิเศษที่โดดเด่นกว่าคนอื่นๆ จนองค์กรไม่ยอมปล่อยให้เราหลุดมือไปแน่นอน

3. ยิ่งเรียนรู้ ยิ่งเป็นผู้ให้

การแบ่งปันความรู้ ทักษะการสอนคนอื่นๆให้เก่งขึ้นนับเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่ได้จากการเรียนรู้ เมื่อรู้เรื่องใดก็ถ่ายทอดบอกต่อแก่ผู้คนรอบข้างอย่างสม่ำเสมอ มีการสร้างการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในองค์กรของเรา การถ่ายทอดความรู้ยังถือเป็นอีกหนึ่งคุณสมบัติที่ดีในการจะก้าวไปสู่การเป็นผู้นำที่ดี ยิ่งบุคลากรในองค์กรแต่ละคนได้ฝึกฝนเรียนรู้และถ่ายทอดความรู้กันเองได้มากเท่าไหร่นั้นองค์กรก็จะยิ่งมีความแข็งแกร่งมากขึ้น แถมยังเป็นผลดีให้แก่องค์กรของเราอีกด้วย

แล้วเราจะสร้างให้ผู้เรียนรู้เกิดความอยากรู้อยากเห็นได้อย่างไร?

การฝึกสังเกตและตั้งคำถาม – การตั้งคำถามคือการที่เราพร้อมเปิดใจที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ฝึกสงสัย ฝึกตั้งคำถามอย่างลึกซึ้ง แล้วไปค้นคว้าหาคำตอบ นับเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างนิสัยใฝ่รู้ให้เราได้ค่ะ  

การเรียนรู้ก็ถือเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตของเราทุกคน เพราะคนทำงานทุกคนคงไม่มีใครอยากย่ำอยู่กับที่ ต้องมีการพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นกว่าเดิม “จงทำตัวเป็นน้ำครึ่งแก้ว” ที่คอยจะตักตวงความรู้ ทักษะความสามารถเพิ่มมากขึ้นมากเรื่อยๆ เพราะเราสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้ตลอดเวลาเพื่อนำมาปรับใช้ในทุกวันของการทำงาน และองค์กรทุกวันนี้ก็ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว เพื่อให้พนักงานได้มีโอกาสพัฒนาฝีมือและสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แล้วการเรียนรู้กับการทำงานจะส่งผลให้ชีวิตดีขึ้นตามไปด้วยค่ะ

Creativity at Work พาเราไปได้ไกลแค่ไหน?

Creativity at Work

Creativity at Work คือ ความคิดสร้างสรรค์ถือเป็นอีกความจำเป็นหนึ่งที่ช่วยองค์กรเติบโต และสร้างคุณค่าทางธุรกิจของบริษัทให้เติบโตด้วย บริษัทที่มีการพัฒนาพนักงานให้มีความคิดสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง จะสามารถทำให้พนักงานมีแนวทางใหม่ๆในการทำงาน สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมองเห็นปัญหาเป็นสิ่งท้าทายความสามารถ ท้าทายความคิดของพวกเขาเอง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของคน Growth Mindset ซึ่งสามารถทำให้องค์กรมีความได้เปรียบทางธุรกิจอย่างยั่งยืนและยังสร้างความน่าเชื่อถือให้กับองค์กร 

Creativity หรือ ความคิดสร้างสรรค์ จะเป็นกระบวนการที่สร้างความคิดใหม่ๆ ออกมา ทางเลือกใหม่ การแก้ปัญหา แนวทางใหม่ๆ ในแบบที่แตกต่างกันไปสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ในแบบเดียวกันได้หลายๆวิธี และสามารถทำประโยชน์ที่มีคุณค่าแก่งานได้เมื่อพนักงานขององค์กรมีความคิดใหม่ๆที่มีประโยชน์และตรงตามเป้าหมายขององค์กรแล้วพวกเขาก็จะสามารถคิดค้นในการผลิตผลงานใหม่ๆออกมา เช่น การคิดผลิตภัณฑ์ใหม่ คิดการบริการใหม่ คิดแผนการตลาดใหม่ รวมทั้งกระบวนการและขั้นตอนการทำงานแบบใหม่ๆ ความคิดใหม่ๆ

สร้างความมั่นใจในความคิดสร้างสรรค์

          เราแต่ละคนมีความคิดสร้างสรรค์ในตัวเอง แต่ละคนมีความสามารถที่จะคิดและสร้างสิ่งต่างๆ ให้เกิดขึ้นได้ และไม่ต้องสงสัยในตัวเอง แต่ให้สงสัยไอเดียที่เราคิด จากนั้นลองทำการทดสอบไอเดียดูว่ามันใช้ได้หรือเปล่า ความกลัวที่จะทำผิดพลาดมันจะทำให้เรากลัวที่จะลงมือทำต่อ ความมั่นใจในความคิดสร้างสรรค์จะช่วยให้เอาชนะความกลัวนั้นได้ ยอมรับว่ายังไงเราก็ต้องทำผิดพลาด โดยไม่ต้องอายและไม่จำเป็นที่จะต้องปกปิดความผิดพลาดนั้น

ความคิดสร้างสรรค์จากการทำงานร่วมกัน

          หลายๆคนอาจจะคิดว่าความคิดสร้างสรรค์อาจจะเกิดแค่กับใครสักคนที่เรามองเขาว่าเก่ง แต่ในความเป็นจริงแล้วความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างงานต่างๆ ไม่ได้เกิดจากการคิดของคนคนเดียว แต่งานจะออกมาดีหรือสำเร็จย่อมเกิดจากการทำงานร่วมกันไม่ว่าเป็นแบบคู่หู หรือเป็นทีมก็ตาม ถึงแม้งานจะออกมาแค่ชิ้นเดียวแต่ผลงานเหล่านั้นย่อมได้รับอิทธิพลทางด้านความคิดความบุคคลอื่นๆเสมอ

เพราะยุคนี้ไม่ได้มี ด้านคุณภาพ ที่ธุรกิจต้องใส่ แต่ท่ามกลางกระแสเทคโนโลยีถาโถมเช่นนี้ คนเรายังมีจุดแข็งที่ได้เปรียบเทคโนโลยีอยู่มาก อย่างทักษะ “Creativity” นั่นเอง

ว่ากันว่า Creativity เป็นทักษะของมนุษย์ที่ “จำเป็น” และ “สำคัญที่สุด” ในปี 2022

สาเหตุที่ทำให้ “ความคิดสร้างสรรค์” กลายเป็นทักษะสำคัญ ก็เพราะ…

– ช่วยปลดล็อกศักยภาพด้านการคิดสร้างสรรค์ให้ผู้นำและบุคลากรภายในองค์กร

– เพื่อเพิ่มผลผลิตทางธุรกิจ

– กระตุ้นและเร่งให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ

– เพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร

เนื่องจากความคิดสร้างสรรค์สามารถต่อยอดการเติบโตของรายได้ รวมถึงสร้างกำไรให้องค์กรได้ จากการเปลี่ยนวิธีการดำเนินธุรกิจ เพราะสามารถใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มยอดขาย ปรับปรุง และพัฒนากระบวนการขายหรือแม้แต่ส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรให้คิดและทำอย่างสร้างสรรค์

ลักษณะแบบไหนคือคนที่มีทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์

1.โหยหาประสบการณ์ใหม่ๆ

คนที่มีความคิดสร้างสรรค์มักจะทำกิจกรรมหลายๆอย่างพร้อมกันไป มักมองหาโอกาสสัมผัสประสบการณ์แปลกใหม่อยู่เสมอ กระตุ้นความคิดให้กระตือรือร้นตลอดเวลา

2.ทำตามความฝันตัวเอง

เราทุกคนมีโอกาสที่จะเป็นคนที่มีทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ที่ประสบความสำเร็จมากขึ้นหลายเท่าหากคุณกำลังทำงานที่รัก และเลือกงานตามความฝันของตัวเอง ไม่ว่าเส้นทางไปสู่งานนั้นจะยากเย็นแค่ไหนก็ตาม หลายครั้งที่เราอาจถูกบอกให้หางานดีๆ ทำ แต่จงเชื่อเถอะว่าหากเลือกที่จะทำตามความฝันแล้ว สิ่งที่ได้กลับมาในท้ายที่สุดนั้นเป็นมากกว่างานดีๆ แน่นอน

3.มั่นใจ

ปัญหาอย่างหนึ่งของใครหลายคนคือไม่มั่นใจในความสามารถของตัวเอง และไม่พร้อมที่จะรับมือกับการ Comment เชิงลบ สุดท้ายแล้วสิ่งที่สำคัญในการพาเราก้าวข้ามผ่านไปได้ก็คือตัวเราเอง หากก้าวข้ามความไม่มั่นใจและพร้อมเผชิญความผิดหวังในโลกนี้ได้ โอกาสที่จะประสบความสำเร็จก็ย่อมมีมากกว่าคนที่จงมองข้ามความสำเร็จของตนเองเพียงเพราะขาดความมั่นใจ

ดังนั้นการวางแผนในการทำงานจึงเป็นสิ่งสำคัญ การรอเวลารออารมณ์คือข้ออ้างของความขี้เกียจ อย่าปล่อยให้ตัวเองเป็นศัตรูของตัวเอง

พัฒนาองค์กรไปพร้อมกับการพัฒนาบุคลากร

พัฒนาองค์กรไปพร้อมกับการพัฒนาบุคลากร

 “พัฒนาองค์กรไปพร้อมกับการพัฒนาบุคลากร” ต้องปฏิบัติอย่างไร? การบริหารในยุคปัจจุบันได้ให้ความสำคัญกับทรัพยากรบุคคลเป็นอย่างมาก องค์กรที่มีทรัพยากรบุคคลที่มีศักยภาพย่อมเป็นสิ่งที่สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางด้านธุรกิจ การพัฒนาคนในองค์กร มีความแตกต่างกันออกไปตามรูปแบบโครงสร้างในการจัดการของแต่ละที่ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการจัดการหรือแม้แต่การทำงานเองก็ตาม สิ่งเหล่านี้เองจึงเป็นจุดเด่นของการทำธุรกิจในปัจจุบันเพราะไม่มีมีรูปแบบการตายตัว เพราะแต่ละองค์กรจะต้องมีการพัฒนาบุคลากรของตนเองอยู่เสมอเพื่อรองรับรองงานที่มีการเปลี่ยนแปลงบางคนต้องทำงานเพิ่มมากขึ้นหรือว่าสร้างทักษะใหม่ๆในการทำงานด้านอื่นๆด้วยนี่เองคือความสำคัญอย่างมาก

          ในแต่ละบริษัทต้องมีบุคลากรที่ต้องให้คำแนะนำในส่วนต่างๆและมีความชำนาญในส่วนนั้นเพื่อคอยชี้แนะหรือคอยให้ข้อความคิดเห็น ต่อผู้ที่ยังด้อยประสบการณ์หรือต้องการฝึกฝนทักษะด้านอื่นๆ หรืออาจจะใช้วิธีเป็นการพัฒนาบุคลากรเป็นรายบุคคล เป็นต้นว่าคนนี้หากได้รับการเสริมทักษะในเรื่องนี้จะทำให้เขาสามารถทำอะไรได้เพิ่มมากขึ้นหรือเป็นประโยชน์ให้กับองค์กรได้อีกมากมาย ซึ่งจะทำให้เขากลายเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาองค์กรให้รุกหน้าและเป็นผู้นำในแวดวงธุรกิจต่อไป

อย่างไรก็ตามการพัฒนาบุคลากรนั้นไม่ได้มีรูปแบบตายตัว แต่อาจจะมีหลายแนวทางที่ผู้คนนำมาใช้แล้วได้ผลเป็นที่น่าพอใจ แอดจึงอยากนำมาแชร์ต่อลูกเพจ เพื่อเป็นการหาแนวทางพัฒนาที่เหมาะสำหรับคุณและองค์กรของคุณ ดังนี้

แนวทางพัฒนาที่เหมาะสำหรับคุณและองค์กร

1. ทำความเข้าใจเป้าหมายขององค์กร

ก่อนอื่นไม่ว่าเราจะเพิ่งเริ่มทำงานใหม่ หรือเป็นพนักงานเก่าอยู่แล้วสิ่งสำคัญที่เราจะต้องทำความเข้าใจเป็นอันดับแรกคือทิศทางเป้าหมายขององค์กรว่าคืออะไร เพื่อที่จะได้มุ่งในการพัฒนาพนักงานในแต่ละคนได้อย่างตรงจุด องค์กรจะต้องให้ความสำคัญกับจุดแข็งของพนักงานเพราะสามารถส่งเสริมและนำมาต่อยอดได้ต่อ อย่ามัวแต่เสียเวลากับการหาทางแก้ปัญหาในจุดอ่อนมากจนเกินไป เพราะคนเราไม่ได้มีความสมบูรณ์แบบในทุกเรื่องเสมอไป ดังนั้นเสริมให้เขาลองทำในสิ่งที่ชอบ หรือสิ่งที่เขานั้นถนัดยิ่งๆขึ้นไป และสิ่งเหล่านี้ส่งผลดีต่อองค์กรมากขึ้น

2. สำรวจพนักงานว่าใครต้องพัฒนาในเรื่องใดบ้าง

การเริ่มรับพนักงานใหม่ๆ เพิ่มเข้ามาในองค์กรเราอาจจะต้องมีการทำแบบสำรวจถึงความสามารถที่ตัวพนักงานมีว่าคนไหนอ่อนด้อยในทักษะทางด้านใดบ้างเพื่อที่จะได้ส่งเสริมหรือเพิ่มทักษะใหม่ๆให้กับพวกเขามากขึ้น หรือใช้วิธีการให้หัวหน้างานสำรวจลูกน้องของตนเองว่าคนไหนควรพัฒนาในเรื่องใดบ้าง จากนั้นจึงมองหาช่องทางที่เขาจะสามารถพัฒนาทักษะหรือความสามารถเหล่านั้นได้ เช่น การจัด Training หรือส่งไปอบรมกับสถาบันฝึกอบรมภายนอกองค์กร เป็นต้น

 

3. มีวางแผนการพัฒนาระยะสั้นและระยะยาวคู่กันไป

ถึงแม้ว่าเราจะตั้งเป้าหมายในระยะยาวเอาไว้ แต่การตั้งเป้าการพัฒนาในระยะสั้น ๆ นั้นเป็นถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญและไม่ควรมองข้ามเช่นเดียวกัน เพราะการตั้งเป้าหมายระยะสั้นๆนั้นส่วนหนึ่งที่จะทำให้การพัฒนานั้นค่อย ๆ ขยับเข้าใกล้เป้าหมายระยะยาวตามที่เรากำหนดไว้ได้ทีละขั้น ดังนั้นอย่ามองข้ามการวางแผนระยะสั้นสำหรับปีต่อๆไป ควบคู่ไปกับแผนระยะยาวสำหรับอีก 5 ปีข้างหน้าด้วย

 

4. กำหนดมาตรฐานการในประเมินความสำเร็จของงาน

การที่เรากำหนดว่าเราจะวัดความสำเร็จได้อย่างไร การกำหนดเป้าหมายที่ไม่สามารถคาดถึงผลที่ได้ ย่อมเป็นสิ่งที่ยากที่จะใช้ในการจูงใจพนักงานให้เกิดความปรารถนาในการพัฒนา รวมทั้งความสามารถของพวกเขาเอง ดังนั้น ลองตั้งเป้าหมายแล้วต้องดูด้วยว่าจะสามารถไปถึงจุดนั้นได้อย่างไร โดยอาจมีการประเมินผลในระยะสั้น ๆ เช่น ทุก ๆ 6 เดือน หรือ ทุก ๆ 1 ปี เพื่อให้มั่นใจว่าเรากำลังเดินไปในทิศทางที่ถูกต้องและเป้าหมายของเรายังคง และยังคงเป็นสิ่งที่เรานั้นล้วนปรารถนา

5. ลงมือทำตามเป้าหมายให้สำเร็จ

เมื่อเราได้ลองตั้งเป้าหมายและได้รู้ถึงเป้าหมายของตนเองแล้วนั้น เราก็จะพบกับความสำเร็จได้ยากหากเรานั้นไม่ลงมือทำ และแผนการที่เราวางไว้อาจจะไม่สำเร็จเลยหากขาดการช่วยเหลือของบุคลากรในองค์กร รวมทั้งยังขาดการติดตามอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นทำการกำหนดลำดับขั้นในการทำงานอย่างชัดเจน เพื่อเป็นตัวช่วยในการเตือนตัวเราเองให้ลงมือทำตามแผนที่วางไว้เพื่อที่จะได้ประสบความสำเร็จ

สิ่งเหล่านี้เอง หากองค์กรได้บุคลากรที่มีคุณสมบัติหรือความชำนาญเฉพาะทางเข้ามาพัฒนาในองค์กรนั้นๆไม่ว่าจะเป็นองค์กรใดก็ตาม จะทำให้มีประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มมากยิ่งขึ้น อย่างที่รู้กันว่าธุรกิจในปัจจุบันมีการพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลาบริษัทไหนที่ไม่มีความสามารถในการพัฒนาไม่ว่าจะในเรื่องการจัดการหรือแม้แต่เรื่องของคนให้ทันต่อความต้องการของตลาดก็จะไม่มีศักยภาพในการทำงานหรือไม่มีโอกาสในการแข่งขัน

สามารถอ่าน content ที่น่าสนใจได้ที่ เครื่องมือในการพัฒนาบุคลกร ที่นิยมใช้ในองค์กร